Popular Post

Posted by : Love For You วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556




อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ต่อพ่วง คือ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นำอุปกรณ์มาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูล เพื่อสแกนรูปภาพ เพื่อทำให้เกิดเสียงเพลง เพื่อควบคุมไฟวิ่ง เพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อรถยนต์ เพื่อควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงานต่าง ๆเป็นต้น หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิด จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะให้อุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดนั้นทำงานใด แต่อุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์จะต้องต่อสายเคเบิล หรือสายนำสัญญาณเข้ากับพอร์ตด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นพอร์ตขนานหรือพอร์ตอนุกรมก็แล้วแต่ที่จะกำหนด และโดยทั่วไปจะต้องมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นต่อพ่วงเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์ จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับเครื่องพิมพ์ตัวนั้นหรือนำคอมพิวเตอร์ไปควบคุมไฟวิ่งจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุม ไฟวิ่งติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ด้วย

กล้องดิจิตอล

กล้องดิจิตอล (Digital Camera) คือ กล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายได้จะถูกบันทึกแบบดิจิตอลโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในกล้อง โดยอยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพซึ่งสามารถส่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ออกมาเป็นภาพ กล้องดิจิตอล (Digital Camera) ส่วนใหญ่จะแบ่งตามการใช้งานของ CCD และลักษณะการใช้เลนส์ได้ 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้

       1) กล้องคอมแพค (Compact)  เป็นกล้องที่ใช้ CCD ตลอดเวลาเพื่อส่งภาพไปที่จอ LCD มี CCD ขนาดเล็กเพื่อให้เกิดความร้อนใน CCD น้อยที่สุด เมื่อต้องการบันทึกภาพ ก็ Copy ข้อมูลบน CCD ในวินาทีที่ต้องการแล้วเอาไปโพรเซสต่อ มีเลนส์ที่ติดตั้งคู่กับ CCD ตลอดเวลาไม่สามารถถอดออกได้ในการใช้งานปรกติ ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นคนละภาพ(ใกล้เคียง)กับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้น้อย ตัวกล้องมีขนาดเล็ก การทำงานเพื่อบันทึกภาพของกล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) ก็เป็นหลักการเดียวกับกล้อง DSLR เพียงแต่กล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) จะไม่มีกระจกสะท้อนภาพ ไม่มีม่านชัตเตอร์ แล้วก็ไม่มี Pentaprism จะถ่ายรูปออกมาได้ เมื่อแสงลอดผ่านเลนส์เข้ามามันก็จะตกกระทบลงบนเซนเซอร์รับภาพ  นั่นก็คือเซนเซอร์จะได้รับแสงตลอดเวลาที่เปิดกล้อง ตรงนี้ทำให้เกิดข้อดีคือ สามารถนำมาทำเป็นระบบ Live view อย่างที่ใช้กันอยู่ได้ (ระบบ Live View ก็คือการที่เรามองภาพก่อนถ่ายผ่านทางหน้าจอ LCD แทนที่จะเป็น Viewfinder) 
 


ภาพแสดงกล้องดิจิตอลแบบคอมแพค

เวลากดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ กล้องก็จะใช้ระบบ ควบคุมแบบ Electronics เพื่อปิด-เปิด การทำงานของเซนเซอร์รับภาพให้ได้ปริมาณแสงตามที่เราตั้งไว้ เมื่อนำค่าแสงที่ได้ไปประมวลผลต่อ ก็จะได้ภาพสวยๆออกมาตามที่เราต้องการเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น กล้องดิจิตอลคอมแพคไม่มีม่านชัตเตอร์ ถูกแทนที่ด้วยระบบ Electronics ตัดต่อการทำงานด้วยวงจรไฟฟ้า ไม่มีกระจกสะท้อนภาพเพราะใช้การแสดงผลภาพผ่านทาง Live View จึงทำให้กล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact)  เป็นกล้องที่มีจุดเด่นอย่างที่มันเป็น นั่นก็คือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก และใช้งานง่าย เป็นที่นิยมของคนทั่วไป

       2) กล้องคอมแพคระดับสูง (Prosumer) (DSLR - Like)พัฒนาขึ้นจากคอมแพคให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น CCD ใหญ่ขึ้น เมื่อ CCD ใหญ่ขึ้นเลนส์ก็ต้องใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถเก็บแสงได้มากขึ้นสีสันและมิติภาพจึงมีมากกว่าคอมแพค แต่การเก็บภาพยังใช้หลักการของคอมแพคคือ CCD รับภาพตลอดเวลาส่งให้ช่องมองภาพและจอ LCD การที่ CCD ต้องรับภาพตลอดเวลากลายเป็นข้อจำกัดของกล้องชนิดนี้ทำให้ไม่สามารถขยายขนาด CCD ให้ใหญ่ทัดเทียมกับ DSLR ได้ เลนส์ที่ติดตั้งก็จะติดตั้งมากับตัวกล้อง ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นภาพเดียวกับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้แต่อยู่ในวงแคบหรืออาจจะได้เพียง อย่างเดียว
 


ภาพแสดงกล้องคอมแพคระดับสูง

       3) กล้อง Digital Single Lense Reflex (DSLR) SLR ย่อมาจาก Single Lense Reflex แปลว่าใช้การสะท้อนของเลนส์ชุดเดียวทั้งแสงที่จะตกลงใน CCD  และแสงที่เข้าสู่ตาในช่องมองภาพ ส่วนใหญ่ภาพที่เกิดในช่องมองภาพจะเกิดจากแสงจริงสะท้อนผ่านชิ้นเลนส์เข้าสู่ ตาไม่ได้เกิดจากการรับภาพของ CCD จึงไม่สามารถมองภาพผ่านทาง LCD ได้ มีเลนส์ขนาดใหญ่เพราะมีขนาด CCD ที่ใหญ่ CCD รับแสงเฉพาะตอนที่ม่านชัตเตอร์เปิดให้แสงผ่านเท่านั้น สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ มีทั้งเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ตายตัว(Fixed) หรือ เปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ (Zoom) แต่มีกล้อง DSLR บางชนิดที่สามารถมองภาพจาก LCD ได้โดยแยก CCD ออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกเอาไว้ประมวลผลภาพออกทาง LCD อีกชุดไว้บันทึกภาพ กล้องประเภทนี้มีตัวกล้องที่ใหญ่ กลไกการทำงานของกล้องประเภทนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานไปสู่การทำงานของกล้องอื่นๆ ด้วย กล้อง DSLR นั้น ชื่อเต็มๆของมันก็คือ Digital Single-Lens Reflect ว่าแต่ ทำไมต้องเป็น Single-Lens Reflect  Single Lens แปลออกมาตรงตัวได้ว่าเลนส์เดี่ยว นั่นก็คือกล้องที่มีเลนส์เพียงตัวเดียว ส่วนคำว่า Reflect นั้นเกิดขึ้นมาจากกระจกสะท้อนภาพอันหนึ่งซึ่งวางอยู่ด้านหน้าเซนเซอร์รับภาพ ซึ่งจะทำหน้าที่สะท้อนแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ขึ้นสู่ช่องมองภาพ (Viewfinder)

ภาพแสดงกล้องดิจิตอลแบบ DSLR


การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล


#1. กำหนดงบประมาณ
ก็เหมือนกับการเลือกซื้อของทุกอย่าง ที่คุณจะต้องรู้ก่อนว่าคุณมีงบกี่บาท เพราะการที่คุณไปยืนเลือกซื้อแน่นอนว่าจะต้องมีกล้องตัวที่ดีกว่า สวยกว่า และอาจจะแพงกว่า ถ้าคุณไม่อยากกระเป๋าฉีกก็กำหนดไว้เลยว่ามีงบเท่าไร สำหรับผู้เริ่มต้น ผมแนะนำให้มองหากล้องราคาถูก ที่มีฟังก์ชั่นมากพอ, น้ำหนักเบา, จับถนัดมือ เมื่อคุณใช้ได้คล่องแล้ว ผมคาดว่ามันก็จะเก่าพอดี แล้วคุณค่อยไปหาซื้อตัวใหม่ที่ดีกว่าตัวเดิม

#2. อย่าหลงเชื่อ ดิจิตอล ซูม
อย่าไปเชื่อคนขายเกี่ยวกับเรื่องของดิจิตอลซูม พูดให้เข้าใจง่ายๆ ดิจิตอลซูมก็คือการซูมสมมุติที่ระบบดิจิตอลทำให้ ไม่ใช่ความสามารถของเลนส์ ความแตกต่างก็คือ ดิจิตอลซูม จะเป็นการซูมที่ทำให้ภาพไม่คมชัด และอาจจะมีเม็ดสีขึ้นเต็มภาพ เพราะฉะนั้นให้เลือกดูที่ออฟติคอลซูมที่สูงที่สุดเท่าที่งบอำนวยดีกว่า (ยิ่งซูมได้มาก คุณก็สามารถดึงภาพเข้ามาได้ใก้ลมากขึ้น, สามารถยืนได้ห่างจะสิ่งที่ต้องการจะถ่ายได้มากขึ้น)

#3. 2 อย่างที่ต้องพิจารณาก่อนซื้อ
นั่นก็คือ การ์ดความจุ หรือที่เรียกว่าเมม กับแบตเตอรี่ คุณคงไม่อยากจะซื้อกล้องที่ใช้การ์ดเมมที่ชาวบ้านเขาไม่นิยมใช้กันใช่มั้ย เพราะนอกจากซื้อกล้องแล้วคุณยังจะต้องลงทุนซื้อตัวอ่านการ์ดที่ดูดข้อมูลเก็บเข้าคอมพ์อีกต่างหาก เอาเป็นว่าผมแนะนำให้หากล้องที่ใช้ CF การ์ด ส่วนเมมโมรี่ ก็เช่นเดียวกัน คุณคงไม่อยากจะมีที่ชาร์ตแบตแบบหลากชนิดเต็มบ้านไปหมด 2 สิ่งนี้ผมแนะนำให้ใช้แบบที่ส่วนใหญ่เขาใช้กันเพราะอนาคตถ้าคุณจะซื้อกล้องตัวใหม่ คุณก็จะสามารถนำ 2 อย่างนี้ไปใช้ต่อได้

#4. อย่าดูที่ขนาดของกล้องเพียงอย่างเดียว
ต้องบอกว่ากล้องดิจิตอลสมัยนี้ จิ๋วแต่แจ๋ว แม้จะเครื่องเล็กแต่คุณสมบัติไม่แพ้กล้องระดับมืออาชีพ แต่ก็นั่นแหละ สาระสำคัญคือ ต้องดูว่ามันเหมาะมือคุณหรือเปล่า น้ำหนักสิ่งมีผลต่อการพกพา คุณอาจจะไม่ต้องการกล้องที่เล็กที่สุด แต่คุณต้องการกล้องที่เหมาะมือต่างหาก


#5. ระวังโปรโมชั่น
กล้องที่มาพร้อมกับโปรโมชั่น แถมนู่น นี่นั่น มีการ์ดให้ พร้อมขาตั้ง มีกระเป๋า สารพัด มันก็ดีอยู่หรอก แต่อย่าลืมมองที่คุณภาพของกล้อง ของภาพที่จะออกมาด้วย อย่าลืมว่าคุณจะซื้อกล้องไม่ได้ซื้อโปรโมชั่น

#6. ตรวจสอบความสามารถในการซูมให้แน่ใจ
บางทีคุณอาจจะเคยเห็นโฆษณาบอกว่ากล้องนี้ซูมได้ 10x (10 เท่า) เห็นอย่างนี้แล้วคุณก็ต้องถามให้แน่ว่า 10x เนี่ยออพติคอลซูมกี่x และ ดิจิตอลซูมกี่x เพราะที่บอกว่า 10x เนี่ยมักจะเอาสองอย่างนี้มารวมกัน ฉะนั้นให้คุณสนใจที่ออพติคอลซูมเลือกที่มากที่สุดเท่าที่มีงบ ไม่ต้องไปสนใจที่ดิจิตอลซูม

#7. ดูภาพตัวอย่างก่อนซื้อ จะทำให้เราทราบว่ากล้องตัวนี้ถ่ายภาพได้คมชัดแค่ไหน
ข้อดีของกล้องดิจิตอลก็คือมันสามารถพรีวิวภาพที่ถ่ายได้ในช่องมองภาพ LCD ตรงนี้ที่คุณต้องดูว่ามันใหญ่พอสำหรับคุณหรือเปล่า (ยิ่งใหญ่มากก็เปลืองแบต) และสามารถขยายภาพดูได้หรือเปล่า ขยายดูสัก 100% เพื่อจะได้เช็คได้ว่ากล้องถ่ายได้ชัดเท่าที่ต้องการหรือเปล่า


#8. มีไมโครโฟนในตัวหรือเปล่า
อย่าทำหน้าสงสัยว่าจะเอาไปทำไม ก็ในเมื่อซื้อกล้องไปถ่ายภาพนิ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามถึงประโยชน์ของมัน 2 ประการ คือ คุณสามารถใช้กล้องบันทึกเสียงได้ และ สามารถบันทึกภาพวิดีโอสั้นๆ ได้


#9. ปริมาณพิกเซลที่แท้จริง
ถ้ากล้องที่คุณสนใจบอกว่ามี 10 megapixel และใช้เทคโนโลยี Foveon x3 ให้เอา 3 หาร 10 นั่นแปลว่ากล้องตัวนั้นมีพิกเซลที่แท้จริงเพียง 3.3 megapixel เพราะ เทคโนโลยี Foveon x3 คือการจำลองพิกเซล


#10. ความจุภาพ
เมื่อตัดสินใจซื้อกล้องแล้วก็เตรียมเงินซื้อการ์ดแมมไว้ด้วยเลย เพราะยังไงที่เขาแถมมาก็มักจะไม่ค่อยพอกับความต้องการอยู่แล้ว

#11. มีโปรแกรมถ่ายภาพกลางคืน
มีกล้องเป็นของตัวเองแล้ว จะอย่างไรก็คงต้องมีโอกาสได้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย หรือถ่ายตอนกลางคืนแน่ๆ เพราะฉะนั้นก็ดูเลยว่ากล้องตัวที่สนใจมี ISO สูงสุดเท่าไร (สูงไว้ก่อนดี เพราะยิ่งมืดก็ยิ่งต้องใข ISO สูงๆ), มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวหรือเปล่า, มีโหมดถ่ายภาพกลางคืนให้มั้ย

#12. อย่าไปยึดติดกับเมก้าพิกเซล
ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น กล้องก็โฆษณาว่ามีจำนวนเมก้าพิกเซลมากขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริงมีจำนวนเมก้าพิกเซลเยอะๆ ก็ใช่ว่าคุณจะได้ภาพที่ชัด และยิ่งถ้าคุณแค่จะถ่ายภาพแล้วอัดรูปแค่ไม่กี่นิ้ว ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องใช้เมก้าพิกเซลสูงๆ ลองพิจารณาสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ความเร็วสูงสุด-ต่ำสุดของชัตเตอร์ (ถ่ายได้ฉับไว เช่น ถ่ายภาพคนวิ่ง), ระยะเวลาการเปิดกล้อง ใช้เวลานานเท่าไรถึงจะถ่ายได้,

#13. เผื่อเงินไว้ด้วย เพราะบางทีอาจจะไม่ใช่แค่กล้องที่ต้องซื้อ
เมื่อมีกล้องก็ต้องมีเมมการ์ดไว้เก็บภาพ, ต้องมีการ์ดรีดเดอร์เอาไว้ดูดภาพจากกล้องเก็บเข้าคอมพ์, มีที่ชาร์ตแบตกล้อง, กระเป๋ากล้อง, ขาตั้ง บางทีอาจจะต้องเพิ่มฮาร์ดดิสก์คอมพ์ด้วยซ้ำ ยังไงถ้าต้องซื้อก็ซื้อพร้อมกันกับกล้องรวดเดียวเลย จะได้ต่อรองได้ราคาพิเศษ

#14. ระวังของถูก
ใครๆ ก็อยากได้ของถูก นอกจากผมจะเตือนให้ระวังโปรโมชั่นล่อใจแล้ว แนะนำให้หาซื้อในร้านค้าที่เราไว้ใจ หรือคุ้นเคย เพราะจะได้ไม่ถูกหลอกย้อมแมวขายแล้ว ยังอุ่นใจเรื่องบริการหลังการขายได้อีกด้วย

#15. โปรแกรมถ่ายอัตโนมัติ
โหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ อาทิ ถ่ายกลางคืน, ถ่ายภาพบุคคล, ถ่ายภาพกีฬา, ถ่ายพลุ ฯลฯ เหล่านี้ต้องมี เพราะจะทำให้การถ่ายภาพของคุณสะดวก และสนุกขึ้น


#16. มีแฟลชในตัวหรือเปล่า
มันเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน เพราะฉะนั้นควรจะเลือกที่มีแฟลชในตัว ไม่งั้นจะถ่ายภาพกลางคืนได้ไง

#17. กล้องเก่าอย่าทิ้ง
ได้ใหม่อย่าลืมเก่า ของเก่ามีประโยชน์ ลองเอาไปให้ พ่อแม่ญาติพี่น้องใช้, เก็บไว้ใช้ในกรณีที่ตัวใหม่มีปัญหา, เอาไปบริจาค(ได้บุญ) หรือไม่ก็เอาไปเทิร์นเปลี่ยนเป็นเมมการ์ด ฯลฯ

#18. ออฟติคอล ซูมเท่าไรถึงจะพอ
สงสัยใช่มั้ยว่าตกลงจะเลือกซื้อกล้องที่มีจำนวน ออพติคอลซูมเท่าไรถึงจะพอ ผมมีข้อแนะนำ ถ้าคุณจะเอาไปใช้ถ่ายคนเป็นหลัก เช่น ถ่ายเพื่อนๆ ในงานปาร์ตี้ เลือกซื้อสัก 2x, 3x ก็พอ แต่ถ้าเน้นถ่าย outdoor ถ่ายวิว ถ่ายตึกก็ต้อง 5x ขึ้น แต่ถ้าต้องการใช้ถ่ายภาพที่เคลื่อนไหวที่ความเร็วสูง เช่น ถ่ายภาพคนวิ่ง รถแล่น สัตว์วิ่ง ก็ต้อง 7x ขึ้นไป อย่าลืมนะครับว่าต้องดูที่ ออพติคอลซูมเท่านั้น

#19. มีช่องต่อขาตั้งกล้องหรือเปล่า
เผื่อว่าคุณจะต้องตั้งกล้องภ่ายภาพ เช่น ตั้งเวลาถ่าย, ตั้งถ่ายพลุ แต่คุณไม่ช่องสำหรับต่อขาตั้งกล้องแล้วจะทำอย่างไร

#20. ลองเปรียบเทียบราคาในเนตดูก่อนซื้อ
เป็นอีกหนทางหนึ่งสำหรับคนฉลาดซื้อ ขยันเข้าอินเตอร์เนตเช็คราคาร้านนู้นร้านนี้ ก่อนจะตัดสินใจซื้อ หรือเดินเล่นดูหลายๆ ร้าน ถามราคาก่อนเลือกซื้อ

#21. ลองอ่านรีวิว ที่เขาแนะนำดูด้วย
ทั้งในเนต และนิตยสารเกี่ยวกับกล้องทุกฉบับ มีการรีวิวทดสอบกล้องให้คุณได้เลือกอ่านอยู่แล้ว ลองอ่านดูเสียหน่อย แม้ว่าจะมีศัพท์เทคนิค ที่ไม่เห็นจะรู้เรื่อง แต่ก็เอาเถอะ เผื่อว่ามันจะมีข้อมูลที่คุณพอจะเข้าใช้แล้วนำไปใช้ในการตัดสินใจซื้อ

22. ยิ่งมีเมก้าพิกเซลเท่าไรก็ยิ่งดี?
ผมแนะนำไปว่าเมก้าพิกเซลไม่ใช่สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อกล้อง มีมากไปก็ราคาแพง ซึ่งก็ไม่ได้ใช้ ถ้าคุณต้องการซื้อกล้องแล้วนำมา print รูปขนาด 8x10 ผมฟันธงเลยว่าคุณหากล้องสัก 5 megapixel ก็พอ มากกว่านี้ถือว่าไม่จำเป็น น้อยกว่านี้ก็จะได้คุณภาพรูปที่ไม่เพียงพอ

#23. ยิ่งมีฟังก์ชั่นมากเท่าไรยิ่งดี?
สำหรับมือใหม่มากๆ ลองมองหากล้องที่มีฟังก์ชั่น full control หรือโหมดอัตโนมัติแบบที่คุณกดชัตเตอร์อย่างเดียว คำนวนทุกอย่างให้เสร็จสรรพ อย่าลืมหาที่ไวท์บาลานซ์และไอเอสโอเป็นออโต้ด้วย จะทำให้ถ่ายง่ายขึ้นอีกเยอะ

#24. กันน้ำได้มั้ย
คงจะไม่ได้หมายถึงเอากล้องไปถ่ายใต้น้ำหรอก แต่เผื่อว่ามันจะหลุดมือพลัดตกน้ำ หรือตากฝน

#25. มี iso ต่ำสุด สูงสุด เท่าไร
ไอเอสโอ สูงๆ ทำให้คุณถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดี แต่มันก็ทำให้ภาพเกิดน้อยซ์ noise คือภาพเป็นเม็ดสีเล็กๆๆๆ กลับกัน ไอเอสโอต่ำๆ ก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ มันจะทำให้ภาพของคุณชัดใสมากขึ้น ลองมองหาไอเอสโอสัก 50 และใช้ถ่ายในที่แสงจัดๆ จะได้ภาพที่ชัดสวยมาก



MEMORY STICK

ตั้งแต่บริษัท SONY ได้มีการคิดค้น Memory Stick ขึ้นมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ทางบริษัทเอง ก็ได้คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ใช้ควบคู่กับ Memory Stick อย่างมากมาย เช่น กล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล กล้องถ่ายรูปดิจิตอล คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Vaio) กรอบรูปดิจิตอล เครื่องพรินเตอร์ เครื่อง บันทึกเสียง เป็นต้น

Memory Stick คือ สื่อบันทึกล่าสุดของ Sony ลักษณะคล้ายแผ่นหมากฝรั่ง ขนาดเล็ก ซึ่งบริษัทได้สร้างช่อง (สล็อต) สำหรับเสียบ Memory Stick ไว้ในผลิตภัณฑ์หลายอย่าง จุดเด่นของ Memory Stick อยู่ที่ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงถึงระดับ 1.3 MB ต่อวินาที คาดว่าจะมีความจุสูงขึ้นไปได้อีก ถึง 256 MB ช่วยให้การเขียนอ่านข้อมูลเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หน้าที่หลักๆ จะใช้สำหรับการเก็บข้อมูลดิจิตอลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพและเสียง รวมไปถึงข้อมูลเอกสารอีกด้วย โดยจะทำการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นทองเหลือง (IC chip) หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น IC recording media




Memory Stick เป็นสื่อบันทึกที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบามีการออกแบบ ซึ่งเหมาะแก่การใช้งานจริง ๆ ทำให้ง่ายต่อการพกพาและ สะดวกกับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันการลบข้อมูลด้วยเพราะมีแทบล็อคและปลดล็อค


ผลิตภัณฑ์ที่รองรับ Memory Stick ได้แก่ กล้องถ่ายวิดีโอ ระบบดิจิตอล ทั้งระบบ Mini DV และ Digital 8 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล ทั้ง Cyber-shot และ Digital Mavica หรือไม่ว่าจะเป็น วอล์คแมน โน๊ตบุ้ค และคอมพิวเตอร์ PC แต่ปัจจุบัน Sony เพิ่มความมีประสิทธิภาพ ความสะดวกสบาย ให้กับการใช้งาน PDA โดยการใช้ CLIE โดยมี Memory Stick เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
CLIE UX50 จากจอภาพที่กว้างและมีความละเอียดสูง คือสิ่งที่สมบูรณ์แบบสำหรับการชมภาพเคลื่อนไหวและเว็บเพจ TFT LCD จอนี้มี ความละเอียดสูง 480 X 320 pixel สี 16 บิต (65,536 สี) ทำให้ภาพของมีรายละเอียดและได้โทนสีที่เป็นธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านี้ Sony Handheld Engine ที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการ แสดงภาพเคลื่อนไหวและเว็บเพจให้การใช้งาน Jog Dial ที่สะดวกสบาย โดยสามารถใช้ Memory Stick สำหรับย้ายข้อมูลระหว่างเครื่อง PC กับ CLIE นี่คืออีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกสบาย นอกเหนือไปจาก การใช้ HotSync หรือ Flash memory ของ CLIE ประโยชน์อีกข้อหนึ่งก็คือการที่ Application อย่าง Data Import/Export ทำให้ CLIE สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลลงบน Memory Stick ได้ทันทีที่มีการเชื่อมโยงแบบไร้สายหรือต่อสาย USB ระหว่าง CLIE กับเครื่อง PC นับว่าเป็นการใช้ประโยชน์ของ Memory Stick ควบคู่ไปกับการใช้งานของ CLIE






Memory Card มีกี่ประเภท

ประเภทของ memory card ต่างๆ

1.PCMCIA Card หรือ PC Card
เป็นจุดกำเนิดของ การ์ด เลยเหล๊ะ โดยถูกพัฒนาขึ้นมาจากอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ในยุคปลายทศวรรษที่ 80 จุดประสงค์คือต้องการให้คอมพิวเตอร์แลปท๊อปสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ มีด้วยกัน 3 แบบคือ
1.PCMCIA Type I บางสุด
2. PCMCIA Type II แบบกลางๆ
3. PCMCIA Type III ใหญ่สุด




2. Compact Flash Card
เป็นการพัฒนาจาก PCMCIA Card ให้มีขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง เพื่อให้สั้นลง และยังคงความสามารถในการจุความจำข้อมูล โดยในปี 1994 Kodak , Cannon , Polaroid ได้ร่วมกับ Sandisk เพื่อการพัฒนาหน่วยความจำแบบนี้ขึ้นมาซึ่งมีชื่อเรียกว่า Compact Flash หรือ CF Card โดยต้องการนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในด้านการถ่ายภาพ เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นหลัก แต่ก็มีบ้างที่ถูกนำมาพัฒนาเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ต่อกับคอมพิวเตอร์อย่าง Pocket PC หน่วยความจำสูงสุดในตอนนี้คือ 4GB ปัจจุบันใช้ในกล้องดิจิตอลลดลง แต่กลับไปเพิ่มที่ เครื่องเล่น mp3 อย่าง ipod Mini ของ apple เป็นต้น



3. SmartMedia Card
เป็นการพัฒนาโดยการกำหนดมาตรโดย Olympus และ Fujifilm โดยใช้ในการเก็บข้อมูลของภาพดิจิตอลของ ทั้งสองบริษัทนี้ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ โดยจุดที่ได้เปรียบของการ์ดรุ่นนี้คือ บางกว่า CF Card โดยทั้งสองประเภทถูกพัฒนาพร้อมๆกัน แต่ก็มีข้อเสีย ก็มีอยู่คือ การ์ดชนิดนี้จะเก็บได้แต่ข้อมูลอย่างเดียว ไม่มีความจำที่จะควบคุมการ์ด โดยส่วนควบคุมจะติดอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมเท่านั้น การ์ดตัวนี้ไม่ค่อยจะแพร่หลายนัก เพราะเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ Olympus และ Fujifilm เท่านั้น ในปัจจุบันเลิกผลิตการ์ดนี้ไปแล้ว



4. MMC [MultimediaCard] และ RS-MMC [Reduced – size MMC]
เริ่มต้นในปี 1997 โดย Sandisk ร่วมกับ Nokia และ Ericsson ได้ทำการพัฒนาหน่วยความจำแบบใหม่นี้มาใช้กับโทรศัพท์มือถือ จุดเด่นของการ์ดนี้คือ บางเพียง 1.4 mm. ซึ่งถือว่าบางที่สุดในขณะนั้น เหมาะสำหรับนำไปใช้อุปกรณ์ อย่างกล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ Pocket PC โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาความจุไปถึง 4 GB ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เรียกว่า RS-MMC เพื่อใช้กับมือถือเป็นหลัก ซึ่งได้แก่รุ่นต่างๆ เช่น 7610 เป็นต้น
DVRS-MMC = มีขนาดเท่ากับ RS-MMC ระบบ dual volt (แรงดันไฟ 2 ระดับ) ใช้กับมือถือรุ่น 6630, 6670, 6680, 6681และใช้กับมือถือที่ใช้ MMC และ RS-MMC



5.SD Card [ SecureDisk Card ] และ Mini SD
การ์ดชนิดเริ่มขึ้นหลังจาก MMC อยู่ในตลาดได้ไม่นาน โดยที่ Toshiba และ Panasonic เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน และได้ร่วมพัฒนาไปกับ Sandisk รูปร่างของ SD และ MMC จะมีความกว้างและความยาวเท่ากัน และ SD จะหนากว่า MMC โดยหนาประมาณ 2.1 mm. ซึ่งความหนานี้มีส่วนช่วยให้ความจุของการ์ดชนิดนี้มีมากขึ้น รวมถึงเรื่องขั้ว Connecter ของการ์ดจะมีความต่างจาก MMC อยู่ 2 ขา กล่าวคือใน MMC จะมีขาทั้งหมด 7 ขา ส่วนใน SD จะมี 9 ขา ซึ่งจุดนี่เองที่ทำให้ SD เป็นที่นิยมต่อจาก MMC เพราะสามารถโอนข้อมูลได้รวดเร็วกว่า MMC ถึง 2 เท่า กล่าวคือ ใน MMC ความเร็วในการโอนข้อมูลจะอยู่ที่ประมาณ 1Mbps ส่วนใน SD จะมีความเร็วของโอนข้อมูลอยู่ประมาณ 2 Mbps ส่วนฟังก์ชันที่เพิ่มเข้ามาใน SD คือ การป้องกันเขียนซ้ำได้ โดยจะมีตัวเลื่อนล็อคในด้านข้างของ SD แต่ MMC ก็ใช่ว่าจะเสียเปรียบทุกอย่าง มีข้อดีเหมือนกันตรงที่ว่า พื้นที่ในการเก็บทุก 64 MB จะมีการสูญเสียพื้นที่ประมาณ 0.5 MB ส่วนของ SD จะมีการสูญเสียในการเก็บ 64 MB อยู่ประมาณ 1.5 MB ซึ่งห่างกันมาก ส่วนความจุของ SD ก็มีตั้งแต่ 32 MB ไปจนถึง 6 GB แล้วในปัจจุบัน



6.Memory Stick – Memory Stick Pro – Memory Stick Duo – Memory Stick Pro Duo
Memory Stick เป็นการพัฒนาจาก Sony ซึ่งนำมาเก็บข้อมูลต่างๆ จากอุปกรณ์ของ Sony เอง เช่น กล้องถ่ายและบันทึกภาพ เครื่องบันทึกเสียง โทรศัพท์เคลื่อนที่ Palm และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น ข้อเด่นของ การ์ดแบบนี้คือ กินกระแสไฟต่ำ การเขียนและอ่านรวดเร็ว โดยขนาดของความจุจะขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น เช่น memory Stick จะมีความจุ 256 MB และ memory Stick Duo จะมีความจุ 2 GB memory Stick Duo ถูกพัฒนาเพื่อให้ใช้ในเครื่องมือถือและกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะ ที่ต้องอาศัยขนาดการ์ดที่เล็กมีความจุสูงสุดอยู่ที่ 256 MB และ Memory Stick Pro Duo จะมีขนาดเท่ากับ Memory Stick Duo แต่มีความจุมากกว่า ซึ่งสูงสุดอยู่ที่ 1 GB โดยที่จะมี Adapter ช่วยแปลงมาเป็น Memory Stick ได้อีกด้วย โดยปัจจุบันการ์ดรุ่นนี้จะใช้ใน มือถือของโซนี่อีริกสันหลายรุ่น เช่น P910i P900 K750i S700i เป็นต้น ซึ่งการ์ดนี้จะเป็นการ์ดที่มีราคาค่อนข้างสูงมาก เมื่อเทียบกับการ์ดด้านบน






7. TransFlash Card
เป็นการพัฒนาโดยความร่วมมือของ Motorola และ Sandisk โดยได้มีการพัฒนาให้เป็นการ์ดที่ใช้ในโทรศัพท์แท้จริง เมื่อมันมีรูปร่างเพียง 11 x 15 mm. หนาเพียง 1mm. โดยมีการกินไฟที่ต่ำมาก แต่มีความจุถึง 1GB โดยปัจจุบัน Motorola ได้นำมาใช้กับมือถือของค่ายเค้า ในการเก็บข้อมูลทั้งโปรแกรมและสิ่งบันเทิงต่างๆ และนอกจากนี้การ์ดประเภทนี้สามารถใช้ adapter แปลงให้มาเป็น SD Card ได้อีกด้วย

8. MMC micro
เป็นการพัฒนามาจาก MMC และ RS-MMC มีขนาดเป็น 1 ใน 3 ของ RS-MMC มีรูปร่าง 12 x 14 x 1.1 mm. ความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 10 MB ต่อวินาที และเขียน 7 MB ต่อวินาที ซึ่งนับว่าเร็วมาก สามารถลบและเขียนซ้ำลงไปได้ประมาณ 100,000 ครั้ง ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับมือถือติดกล้อง Megapixelโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Samsung มีความจำขนาด 32MB 64MB และ 128MB มีกำหนดออกวางจำหน่ายต้นปี 2006 คับ




9. SD-USB memory card
เป็นการพัฒนาของ Sandisk เพื่อจุดประสงค์ในการเสียบต่อความจำภายนอกโดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดรีดเดอร์ อุปกรณ์ flash ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมีความเร็วในการอ่านและเขียนเร็วกว่า RS-MMC คือจะมีการอ่านที่ 8.04 MB/s และการเขียนที่ 6.83MB/s มีขนาดเท่า RS-MMC ทั้งขนาดและรูปร่าง แต่จะมีส่วนที่กลายเป็นช่องเสียบในที่เสียบ USB ของคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค และอีกด้านหนึ่งเป็นที่เสียบเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เก็บหน่วยความจำ พูดง่ายๆ เหมือน handy drive นั่นเหล๊ะ แต่มันใช้ได้มากอุปกรณ์กว่า มีความจุสูงสุด 1GB คับ









การเลือกซื้อเมมโมรี่การ์ด

ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบรูปแบบเมมโมรีjการ์ด (Memory Card)

ดูที่คู่มือของกล้อง , โทรศัพท์ หรือ อุปกรณ์ที่คุณใช้อยู่ว่ารองรับการใช้เมมเมรี่การ์ด (Memory Card) แบบไหน ถ้าคู่มือเป็นภาษาอังกฤษให้ดูตรงที่มีข้อความอย่าง เช่น “memory card compatability” or “storage ส่วนใหญ่จะมีอยู่ในหน้าสรุปรายละเอียด หรือ สเปกสินค้า (Product Details , Product Specification)
ถ้าคุณไม่สามารถหาคู่มือให้ดูที่ฝาช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำ จะมีเครื่องหมายบอกอย่างเช่น
CF (Compact Flash)
SD (Secure Digital)
xD (Extreme Digital)
MS (Memory Stick)
MMC (MultiMediaCard)
SM (Smart Media)

ขั้นตอนที่ 2 : ตรวจสอบความจุ (Capacity)

- ความจุเยอะก็จะเก็บข้อมูล รูป หรือ เพลงได้เยอะ และความจุยิ่งเยอะ การ์ดก็จะมีราคาแพงสูงขึ้นตามไปด้วย

- อุปกรณ์บางอย่างรองรับความจุที่จำกัด เช่น กล้องรุ่นเก่าอาจรองรับความจุสูงสุดได้แค่ที่ 2 GB


ขั้นตอนที่ 3 : ความเร็วของการ์ด (Speed)

ที่ตัวการ์ดจะมีเครื่องหมายอย่าง เช่น 4X , 12X อยู่นั้นหมายถึงความเร็วในการเขียนต่อวินาที เครื่องหมาย X มีความหมายคือ .. ร้อยกว่ากิโลไบท์ต่อวินาที (kb/s)

เช่น 1x คือความเร็วในการเขียน 150 กิโลไบท์ต่อวินาที (KB/s)

4x คือ 400 กว่ากิโลไบท์ต่อวินาที (KB/s)

สำหรับผู้ใช้กล้องดิจิตอลหรือวีดีโอ

ความเร็วมีผล อย่างเช่น

ผู้ใช้กล้องแบบมืออาชีพ (กล้องโปร หรือ DSLR) ภาพจะมีความละเอียดสูงเวลาจัดเก็บภาพจะใช้เวลานานกว่าปกติ ความเร็วย่นเวลาในการจัดเก็บภาพหลังถ่ายเสร็จ

การถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหว อย่าง เช่น กีฬา ทำให้ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วขึ้น

การถ่ายวีดีโอ ความเร็วจะช่วยทำให้การถ่ายภาพสมบูรณ์ขึ้น


Flash Drive คืออะไร

Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Flash Drive เป็นอุปกรณ์นวัตกรรม IT ที่ในอนาคตทุกคนจะต้องมีและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และมีประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือ:

• ความจุข้อมูลสูง ตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB
• ใช้เก็บข้อมูลได้ทุกประเภท ทั้งไฟล์ข้อมูล, เอกสาร, พรีเซ็นเตชั่นสไลด์, เพลง MP3, รูปภาพดิจิตอล, วีดีโอ, และอื่นๆ
• สามารถใช้ได้ทันทีกับคอมพิวเตอร์และโน็ตบุ๊ค ทุกเครื่องทุกระบบ
• สามารถใช้ได้กับ Windows, Linux, Apple iMac, Apple iBook
• สะดวกในการใช้งาน เพียงแค่เสียบ Flash Drive เข้าช่องต่อ USB
• ใช้งานง่าย คุณสามารถทำการเขียน/อ่าน/ลบ/แก้ไข ข้อมูลในนั้นได้โดยตรงเหมือนกับฮาร์ดดิสไดร์ฟปกติ
• มีความทนทานสูง ทั้งภายในและภายนอก
• เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สร้างจากเทคโนโลยีที่มีความทนทานสูงที่สุดในปัจจุบัน Solid-State Storage Technology
• เวลาใช้งาน ข้อมูลของคุณจะปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดการตกหล่น กระแทก หรือขูดขีด
• มีขนาดเล็ก บาง เบา สามารถพกติดตัวได้สะดวก
• ใช้เล่นเพลง MP3 ได้ (เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player)


Flash Drive เทียบกับ CD/DVD

สิ่งที่ทุกคนถามถึงมากที่สุดคือ ทำไมจะต้องใช้ แฟลชไดร์ฟ, แฮนดี้ไดร์ฟ ในเมื่อเราก็สามารถเก็บข้อมูลในแผ่น CD/DVD ได้, ถึงแม้ว่า CD/DVD จะเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลที่ใช้ได้ในหลายโอกาส แต่ แฟลชไดร์ฟ เป็นตัวเลือกใหม่ในการเก็บข้อมูล ที่จะตอบสนองความต้องการของคนยุคใหม่ได้ดีกว่า ในแทบทุกสถานการณ์การใช้งาน

แฟลชไดร์ฟ มีความได้เปรียบมากกว่า CD/DVD ในหลายๆ เรื่อง ซึ่งทำให้การเก็บและการใช้งานไฟล์ข้อมูล เป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกสำหรับทุกคน


  
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติการใช้งาน 

Storing Data
Flash DriveCD/DVD
บันทึกข้อมูลได้ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
คุณสามารถใช้ Flash Drive เพื่อบันทึกข้อมูลได้ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
บันทึกข้อมูลได้ที่คอมพิวเตอร์บางเครื่องเท่านั้น 
คุณสามารถบันทึกข้อมูลได้เฉพาะเครื่องที่มี CD/DVD Writer เท่านั้น
ใช้งานได้ทันที
เพียงเสียบ Flash Drive เข้าช่อง USB คุณสามารถใช้งานได้ทันที
ต้องเซ็ทอัพทั้งฮาร์ดแวร์และติดตั้งซอฟท์แวร์
หลังจากคุณมี CD/DVD Writer แล้วคุณต้องติดตั้งไดร์ฟเวอร์เพื่อใช้งานอุปกรณ์ อีกทั้งอาจจะต้องซื้อซอฟท์แวร์ CD/DVD Burning และติดตั้งเซ็ทอัพซอฟท์แวร์ให้ใช้งานได้กับอุปกรณ์ของคุณ
ใช้งานง่ายและสะดวก 
คุณสามารถอ่าน/เขียน/ลบ/แก้ไข ข้อมูลบน Flash Drive ได้เหมือนกับการใช้ฮาร์ดดิสปกติ
ยุ่งยากและเสียเวลาในการใช้งาน
คุณจะต้องใช้โปรแกรม CD/DVD Burning เพื่อทำการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD/DVD คุณจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานโปรแกรม และต้องผ่านขั้นตอนของโปรแกรม ทุกครั้งที่ทำการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูล
เซฟข้อมูลได้โดยตรงและรวดเร็ว 
คุณสามารถแก้ไขและเซฟข้อมูลใส่ Flash Drive ได้โดยตรงทันที ง่ายและสะดวกรวดเร็ว
ไม่สามารถเซฟข้อมูลได้โดยตรง 
คุณจะต้องใช้โปรแกรม CD/DVD Burning เพื่อเขียนบันทึกข้อมูลลงแผ่น ไม่สามารถแก้ไขและเซฟงานได้โดยตรง


Accessing Data
Flash DriveCD/DVD
ใช้งานได้ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
เพียงเสียบ Flash Drive เข้าช่อง USB ของคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้งานได้ทันที ช่อง USB มีอยู่ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ใช้งานได้ที่คอมพิวเตอร์บางเครื่องเท่านั้น (สำหรับ DVD) 
สำหรับ CD คุณสามารถใช้งานได้กับ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง แต่สำหรับ DVD บางเครื่องจะไม่ได้ติดตั้งตัวอ่านแผ่น DVD โดยเฉพาะในออฟฟิศและร้านอินเตอร์เน็ตทั่วไป
แก้ไขปรับเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 
คุณสามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ และเซฟอัพเดทใน Flash Drive ได้ทันที สะดวกสำหรับงานที่ต้องมีการแก้ไข และทำอัพเดทเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา
ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้โดยตรง
คุณไม่สามารถแก้ไขอัพเดทข้อมูลใส่แผ่น CD/DVD ได้โดยตรง คุณจะต้องเซฟงานใส่เครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วจึงใช้โปรแกรม CD/DVD Burning เพื่อลบข้อมูลเก่าแล้วบันทึกข้อมูลใหม่
นำมาใช้งานได้หลากหลายและสร้างสรรค์ 
คุณสามารถนำ Flash Drive มาใช้เป็นเหมือนกับ
ฮาร์ดดิสส่วนตัวขนาดพกพา หรือเป็นที่เก็บ Email Box ของคุณ และในอีกหลายสถานการณ์ที่ Flash Drive จะช่วยให้ชีวิตคุณสะดวกขึ้น
ไม่สามารถนำมาใช้งานแบบอื่นๆ ได้
ใช้ได้เพียงเก็บข้อมูล
มีความคงทนสูง 
สามารถทนต่อแรงกระแทก สะเทือน รอยขีดข่วน และการตกหล่น
ไม่คงทน 
หากมีรอยขีดข่วนบนแผ่น CD/DVD เครื่องอาจจะไม่สามารถอ่านข้อมูลในแผ่นนั้นได้
สะดวกที่จะพกติดตัวในการใช้งาน
ด้วยขนาดที่เล็ก บาง เบา Flash Drive จึงง่ายต่อการในใส่กระเป๋าและพกติดตัว หรือจะทำเป็นพวงกุญแจก็ได้ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
ไม่สะดวกในการพกพา 
ถึงแม้จะมีขนาดบางและเบา แต่ด้วยขนาดความกว้างของแผ่น CD/DVD คุณจึงไม่สามารถพกติดตัวได้ และที่สำคัญ คุณจะต้องใส่กล่องหรือซองอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการขีดข่วนบนแผ่น


Flash DriveCD/DVD
ใช้ฟังเพลง MP3 ได้ไม่มีประโยชน์การใช้งานอื่นๆ
ใช้ฟังวิทยุได้
ใช้อัดเสียงได้
ป้องกันข้อมูลด้วย Password และการเข้ารหัสข้อมูล Data Encryption
ใช้เป็น Digital Key กุญแจล๊อค เครื่องคอมพิวเตอร์
Add-on Softwares เพิ่มคุณสมบัติและประโยชน์การใช้งาน ให้หลากหลายด้วย ซอฟท์แวร์และโปรแกรมเสริมต่างๆ


ประเภทของ Flash Drive


แฟลชไดร์ในท้องตลาดดูผิวเผินแล้วอาจจะแตกต่างกันแค่รูปทรง
รูปแบบที่หลากหลายแต่ถ้ามองลึกๆลงไปแล้ว เราสามารถแยก
ประเภทของแฟลชไดร์ออกเป็น 3 ประเภท ( อันนึ้ผมแยกเอง )
ดังนี้ครับ ( ชื่อผมหน้าด้านตั้งเองมันไม่ได้เป็นสากลนะครับ )

1. N – Drive ( Normal flash drive ) ก็คือ แฟลชไดร์ที่ไม่มีข้อมูล
อะไรอยู่ภายใน จนกว่าเราจะเอาอะไรต่อมิอะไรยัดใส่เข้าไป
2. U – Drive ( Utility flash drive ) ยูทิลิตี้แฟลชไดร์ คือจะมีโปรแกรม
สารพัดประโยชน์มากมายพร้อมใช้งานไม่ต้องติดตั้งอีกทั้งยังสามารถ
ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมได้เท่าที่เห็นในท้องตลาด
มีอยู่หลายยี่ห้อแต่ที่โดดเด่นที่สุดก็คงจะเป็นเจ้า
Sandisk Micro Cruzer u3 มีภาพตัวอย่างให้ชมกัน



3. 2 IN 1 – Drive คือมีอุปกรณ์สองตัวรวมอยู่ในตัวเดียวกัน
ก็คือ Flash Drive + Reader Card
จะดีในส่วนของการพกพา ที่สะดวกนะครับ


การเลือกซื้อ Flash Drive


* พอร์ตการเชื่อมต่อ

ปก ติเป็นพอร์ต USB 1.1 และ USB 2.0 ให้เลือก USB 2.0 เพราะจะมีความเร็วต่างกันมาก แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเครื่องคอมฯ ของคุณมีพอร์ต USB เวอร์ชั่น 1.1 ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้เช่นกัน

* ความจุ

เดิมความจุเริ่มต้นด้วย?8, 16, 32, 64, 128 และ 256 MB??แต่ปัจจุบัน เริ่มต้นกันที่ 1,024 MB หรือ 1, 2, 4, 8, 16?GB แล้วครับ?

* ความสามารถอื่นๆ

ถ้า ต้องการมากกว่าบันทึกข้อมูลแล้ว การพิจารณา Flash Drive ในอยู่ในรูปของ 4 in 1 ซึ่งมีความสามารถพิเศษอื่นๆ เพิ่มคือ ฟังวิทยุ เล่นไฟล์ MP3, บันทึกเสียง และท้ายสุดบันทึกข้อมูลได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ราคาเมื่อเทียบกับความจุแล้ว จะต่างกันมาก

* ขนาด

ไม่ มีผลกับความจุ แต่อย่างไรก็ตาม ขนาดโดยทั่วไปจะทำกับปากกา บางยี่ห้อมีการทำ Mini Flash Drive ซึ่งมีขนาดเล็กลงไปอีก ซึ่งสามารถใช้ห้อยคอได้ด้วย

* ความเข้ากัน

Flash Drive จะใช้งานได้ดีกับ Windows ME, 2000 และ XP โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Driver แต่สำหรับ Windows 98 จำเป็นต้องมีการลง Driver ก่อนการใช้งาน

* ไฟแสดงสถานะ

บางรุ่นจะมีไฟ LED เล็กๆ แสดงอยู่ ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่า Flash Drive ถูกใช้งานอยู่

Printer คืออะไร

เครื่องพริ้นเตอร์(Printer) คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ที่จะทำหน้าที่ในการพิมพ์ข้อมูล เอกสารหรืองานต่างๆ ที่เราทำไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ออกมาสู่วัสดุต่างๆ ที่เราต้องการ เช่น กระดาษ พลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ โดยทั่วไปเราจะแบ่งเครื่องPrinterออกไปตามคุณสมบัติ และลักษณะการใช้งานเครื่อง ซึ่งเครื่องพริ้นเตอร์ที่นิยมใช้งานมีทั้งหมด 4 ชนิด ดังนี้คือ
1.เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม (Dot matrix Printer) 

2.เคื่องพิมพ์แบบอิงค์เจต (Inkjet Printer)
3.เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
4.เครื่องพิมพ์ความร้อน (Thermal Printer)

ประเภทของเครื่องพิมพ์

1.เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม (Dot Matrix Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดแรกที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้งาน แต่ปัจจุบันจะใช้งานบางประเภทเท่านั้น หลักการทำงานใช้ระบบหัวเข็มยิงกระแทกผ่านผ้าหมึกไปยังกระดาษ ภาพที่เกิดขึ้นเกิดจากสีของน้ำหมึกที่ซึมอยู่ในผ้าหมึก เหมาะสำหรับงานที่ มีแต่ตารางและตัวหนังสือ และงานที่ต้องการสำเนาที่เกิดขึ้นพร้อมต้นฉบับ เช่น บิล หรือ รายงาน ต่าง ๆ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้สามารถสรุปข้อดี-ข้อเสีย ได้ดังนี้คือ


ข้อดี
1.สามารถพิมพ์ครั้งเดียวได้ หลาย ๆ แผ่น หรือหลาย COPY ถือว่าเป็นลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์แบบนี้
2.ประหยัดผ้าหมึกและผ้าหมึกมีราคาถูก และยังใช้ได้กับกระดาษต่อเนื่อง หรือ ชนิดแผ่นก็ได้
3.อะไหล่ และ ค่าซ่อมมีราคาไม่สูงมาก
4.มีความแข็งแรงทนทานในการใช้งานสูง


ข้อเสีย


1.พิมพ์งานกราฟฟิค ที่มีความละเอียดมาก หรือพิมพ์ภาพสี ไม่ได้
2.พิมพ์งานได้ช้า และมีเสียงดัง
3.มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และ กินกระแสไฟฟ้ามาก
4.ในปัจจุบันราคาค่อนข้างสูง
ในปัจจุบันมีหลายยี่ห้อ เช่น Epson, Oki, Nec, Fujisu เป็นต้น

2.เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจต (Inkjet Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีหลาย ๆ ข้อที่ดีกว่าเคื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม โดยลักษณะของส่วนประกอบและการทำงานจะคล้ายคลึงกับเครื่องพิมพ์แบบหัวเข็มมาก เพราะว่าเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีพัฒนาการมาจากเคื่องพิมพ์แบบหัวเข็มนั่นเอง เนื่องจากโครงสร้างมีลักษณะต่าง ๆ ที่คล้ายกันโดยจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ ในส่วนของหัวพิมพ์เท่านั่น
โดยในเครื่องพิมพ์แบบนี้จะใช้หมึกพิมพ์เป็นน้ำ แล้วฉีดพ่นออกไปบนกระดาษ หรือ วัสดุในการพิมพ์ต่าง ๆ เช่น สติกเกอร์ หรือ แผ่นใส เป็นต้น ไ
ในปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้ที่นิยมใช้เครื่องพิมพ์แบบนี้ คือ กลุ่มผู้ใชเครื่องพิมพ์ตามบ้านเรือน (Home User) เนื่องจากเป็นเครื่องพิมพ์เอนกประสงค์ อีกทั้งตัวเครื่องยังมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์แบบอื่น โดยจะสามารถสรุปข้อดี - ข้อเสีย ได้ดังนี้ คือ


ข้อดี
1.ตัวเครื่องราคาถูกลงมาก
2.สามารถพิมพ์ภาพสี หรือ ภาพกราฟฟิกได้ดี
3.มีความเร็วและความละเอียดในการพิมพ์สูง
4.เสียงในขณะพิมพ์จะเงียบมาก
5.ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และ มีน้ำหนักเบา
6.สามารถเติมน้ำหมึกเองได้ในราคาไม่แพง


ข้อเสีย
1.อาจจะปัญหาเกี่ยวกับหัวพิมพ์อุดตันได้ง่าย
2.หมึกพิมพ์แท้มีราคาแพง
3.ราคาอะไหล่ค่อนข้างแพง
4.ไม่นิยมซ่อมเพราะค่าซ่อมแพง
ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีใช้งานและจำหน่ายหลายยี่ห้อ เช่น Epson, Nec, Hewllet Packard, Lexmark, Compaq
เป็นต้น

3.เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ถือได้ว่า เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้งานมากในบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ที่ต้องการพิมพ์งาน หรือ เอกสารที่ต้องการความคมชัด ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบนี้จะให้ความคมชัดในการพิมพ์มากที่สุด แม้จะไปเปรียบเทียบกับเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจตที่มีคุณภาพดีที่สุด ก็แล้วแต่ก็ยังมีขอบภาพ หรือ ตัวอักษรเป็นริ้ว ๆ ก็เพราะว่าเป็นหมึกน้ำนั่นเอง ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะเป็นหมึกผง ที่ทำให้ละลายติดกระดาษโดยตรงจึงคมชัดกว่า
ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีราคาถูกลงมากจึงนิยมใช้งานกันทั่วไป เราสามารถสรุปข้อดี - ข้อเสีย ของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ได้ดังนี้ คือ

ข้อดี
1.คุณภาพการพิมพ์มีความคมชัดมากที่สุด
2.มีความเร็วในการพิมพ์สูงที่สุด
3.เสียงในขณะพิมพ์จะเงียบมาก
4.ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และ ราคาถูกลงมาก
5.เราสามรถเติมผงหมึกเองได้ไม่ยาก


ข้อเสีย


1.ไม่สามารถพิมพ์ภาพสีได้ หากพิมพ์ได้จะมีราคาแพงมาก
2.ตลับหมึกของแท้ราคาแพง แต่ปัจจุบันมีแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้
3.ค่าอะไหล่ และ ค่าซ่อมค่อนข้างแพง
ปัจจุบันมีใช้งานและจำหน่ายหลายยี่ห้อ เช่น Hewllet Packard, Oki, Compaq, Epson เป็นต้น

เทคโนโลยีต่าง ๆ ในเครื่อง PRINTER
ความสามารถพิเศษอื่น ๆ ในเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมีมากมายที่แต่ละบริษัทแต่ละยี่ห้อ ได้ทำการพัฒนาขึ้นมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อความสามารถที่เหนือกว่าและดีกว่า ตัวอย่างเช่น
เทคโนโลยี Photo Ret 1, 2, 3, 4 ในเครื่องพิมพ์ยี่ห้อฮิลเล็ตแพคการ์ด (Hewllet Packard) หรือ HP ซึ่งจะเป็นเทคนิคการพิมพ์ ที่ใช้วิธีการพิมพ์หมึกทับซ้อนกันหลายชั้น เพื่อที่จะผสมสีให้ได้สีสันที่มีความเหมือนจริง หรือ มีความเหมือนธรรมชาติมากที่สุด
เทคโนโลยี CAPT ในเครื่องพิมพ์ยี่ห้อแคนอน (Canon) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้การดึงเอาแรมจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผล หรือ ที่เรียกว่า การแชร์เมโมรี่ (Momory Share) ซึ่งจะทำให้ตัวเครื่องราคาถูกลง เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยี่ห้ออื่น ที่มีความสามารถเท่า ๆ กัน
เทคโนโลยี SCoA คือ เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูล (Data Compress) เพื่อจะทำให้การพิมพ์ต่าง ๆ มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีใช้งานในเครื่องปรินท์เตอร์ยี่ห้อแคนนอน (Canon) โดยเครื่องพิมพ์ที่มีเทคโนโลยีทั้งสองแบบนี้คือ เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์รุ่น LPB - 1210 ยี่ห้อแคนนอน

เทคโนโลยี PIM (Print Image Matching) คือ เทคโนโลยีที่สามารถอ่านค่าของสีไดัอย่างแม่นยำที่มีใช้งานในเครื่องพิมพ์ยี่ห้อแอปสัน (Epson) อย่างเช่น เครื่องพิมพ์รุ่น Photo830U ซึ่งเทคโนโลยี PIM ของแอปสันเพื่อให้การพิมพ์ภาพมีสีสันเหมือนจริงมากที่สุด
เทคโนโลยี UMD (Ultra Micro Dot) คือ เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ขนาดหยดหมึกที่พิมพ์ออกมามีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวนี้มีใช้งานอยู่หลายยี่ห้อ ซึ่งปัจจุบันขนาดของหยดหมึกจะมีขนาดเล็กมากเป็นพิโคลิตร (Pico Lites) โดยประมาณจะอยู่ในช่วง 2-5 พิโคลิตร ( พิโคลิตร คือ การแบ่งหมึก 1 ลิตร ให้เป็นล้านล้านส่วน) ดังนั้น 2-5 พิโคลิตร จึงหมายถึง สองถึงห้าส่วนหนึ่งล้านล้านส่วนของหนึ่งลิตร ซึ่งก็จะมีขนาดหยดหมึกที่เล็กมาก ๆ


การเลือกซื้อปริ้นซ์เตอร์

เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท (Inkjet Printer)





เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทเป็นเครื่องพิมพ์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปแทบทุกระดับตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงสำนักงานใหญ่ ๆ และในขณะนี้ถือว่ากำลังได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดบ้านเรา เนื่องจากมีราคาตั้งแต่หลักพันบาท หลักหมื่น และหลักแสนบาทเลยทีเดียว

สำหรับการเลือกซื้อเครื่องประเภทนี้จำเป็นต้องดูอะไรหลายๆอย่างประกอบกันโดยรวมก็ถือว่าเหมือนเดิมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงจุดสำคัญจริงๆ ต้องดูที่การใช้งานของผู้ใช้เป็นหลักว่าต้องการใช้เครื่องพรินเตอร์ประเภทนี้เน้นไปในด้านใด ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากว่าเครื่องพรินเตอร์ประเภทนี้มีจุดเด่นที่แตกต่างกันนั้นเอง

ในเรื่องของคุณภาพงานพิมพ์ต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทก็มีการพัฒนาระบบการพิมพ์ไปมากจากระบบการพิมพ์แบบ 4 สี เดี๋ยวนี้ก็มีการพิมพ์แบบ 6 สี หรือ 8 สี ก็มี โดยสีที่เพิ่มขึ้นมานั้นมันจะเป็นการลดปัญหาเรื่องการผสมสีจากแม่สีในการพิมพ์แบบ 4 สี ที่บางครั้งผสมออกมาแล้วก็ยังไม่ได้เฉดสีที่ตรงกับความเป็นธรรมชาติ ซึ่งระบบการพิมพ์หลายสีมันก็มีข้อดีตรงที่ทำให้สีสันที่ได้จากงานพิมพ์นั้นมีความเป็นธรรมชาติมายิ่งขึ้น แต่หลายคนเข้าใจว่าพอจำนวนสีเพิ่มมากขึ้นแล้วเวลาพิมพ์จะทำให้ต้องใช้หมึกเพิ่มเติมไปด้วยหรือไม่ เรื่องนี้ต้องตอบว่าไม่ครับเพราะสีที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็จะทำให้เราไม่ต้องไปใช้สีอื่นอีกสองหรือสามสีทำการผสมขึ้นมาเพื่อให้ได้สีพิเศษที่เพิ่มขึ้นมานั่นเอง

สำหรับความละเอียดของตัวเครื่องให้เลือกที่ความเหมาะสมดูไปแล้วเมื่อเทียบกับในปัจจุบันคงต้องเลือกค่าความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200×600 จุดต่อตารางนิ้ว สำหรับผู้ที่ใช้งานปกติ ตรงนี้ไม่ใช่ว่าความละเอียดต่ำกว่านี้จะไม่ดีแต่เพื่อการทำงานในอนาคตและราคาที่แตกต่างกันเล็กน้อย สำหรับผู้ที่ทำงานกราฟิก ออกแบบน่าจะเลือกความละเอียดประมาณ 4,800 x 1,200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไปจนถึงระดับ 9,600 จุดต่อตารางนิ้ว

ขนาดของกระดาษที่เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทรองรับส่วนใหญ่ก็จะเป็นขนาด A4 ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานทั่วไปที่ใช้งานตามบ้านและสำนักงาน หรือถ้าเป็นเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสำหรับงานกราฟิกมืออาชีพเราก็อาจจะได้พบกับเครื่องพิมพ์ที่รองรับกระดาษขนาด A3 เลยทีเดียว

ส่วนช่องทางการติดตั้งจะมีตั้งแต่ Parallel, USB 1.1/2.0 โดยส่วนมากแล้วเดี๋ยวนี้ก็จะเป็น USB กันหมดแล้ว นอกจากนี้ถ้าเป็นเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทรุ่นที่มีความเร็วสูงมากๆ ที่ออกแบบมาสำหรับรองรับงานพิมพ์ปริมาณมากๆ เครื่องพิมพ์รุ่นนั้นก็อาจจะมีช่องสำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์คมาให้เราด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วเครื่องพิมพ์ลักษณะนี้จะนิยมใช้ในสำนักงานที่ต้องมีผู้คนใช้งานร่วมกัน

และสืบเนื่องมาจากพรินเตอร์ประเภทนี้จะพิมพ์งานโดยใช้น้ำหมึกเพราะฉะนั้นเวลาเลือกซื้อจะต้องดูด้วยว่าพรินเตอร์ที่เราซื้อใช้ตลับน้ำหมึกแบบไหนรุ่นอะไรตลับแบบสีและแบบดำราคาเท่าไรแต่ละยี่ห้อราคาตลับหมึกถูกบ้างแพงบ้างต่างกันไป อย่างบางรุ่นราคาพรินเตอร์ไม่แพงมากแต่ราคาตลับเป็นพันบาทก็มีตรงส่วนนี้ต้องดูให้ละเอียดอีกทีก่อนซื้อ แต่ถ้าให้พูดกันตามธรรมเนียมก็คงต้องบอกว่า “ถ้าเครื่องแพงหมึกจะถูก ส่วนหากเครื่องถูกหมึกมักจะแพงครับ”

ส่วนในเรื่องของคุณภาพน้ำหมึกนั้นก็มีข้อแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยบ้างรุ่นตลับสีแบบรวม บางรุ่นก็แบบแยก ซึ่งตรงจุดนี้แบบรวมจะมีข้อเสียเปรียบกว่าเล็กน้อยก็คือถ้าตลับสีแบบรวมสีหนึ่งสีใดหมดต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งตลับเลย ไม่เหมือนกับแบบแยกสีที่ถ้าสีใดสีหนึ่งหมดก็เปลี่ยนเพียงสีนั้นสีเดียวก็ได้แต่ปัจจุบันเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ๆที่ใช้ตลับหมึกสีแบบรวมมีเทคโนโลยีใหม่เพิ่มขึ้นจึงทำให้น้ำหมึกสีหมดไปพร้อมๆ กัน ส่วนหากผู้ใช้เน้นการทำงานกราฟิกเป็นส่วนใหญ่การใช้พรินเตอร์ที่มีตลับหมึกสีแยกจะให้คุณสมบัติในการทำงานที่ดีกว่าทั้งในเรื่องของการประหยัดไปจนถึงคุณภาพของงานที่ได้ ส่วนผู้ใช้ที่เน้นการทำงานปกติมีพิมพ์ภาพบ้างใช้แบบตลับหมึกสีรวมก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

ส่วนเครื่องอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ในปัจจุบันก็จะมีความสามารถที่ต่างกันออกไปซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตที่คิดค้น และค้นคว้าจุดเด่นหรือข้อดีของแต่ละผลิตภัณฑ์แตกต่างกันไปเพื่อนำมาแข่งขันกันไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการอ่านสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้ เช่น Compact Flash, Multimedia Card, Secure Disk, XD Card, Memory Stick ในแบบต่างๆ และการติดตั้งพอร์ตเชื่อมต่อแบบ PictBridge หรือบางผู้ผลิตเรียกว่า Print Direct ก็ยังสามารถช่วยให้การใช้งานนั้นง่ายยิ่งขึ้นเพียงแต่ผู้ใช้มีกล้องดิจิตอลที่รองรับเทคโนโลยี PictBridge และเครื่องพรินเตอร์ที่รองรับเทคโนโลยีนี้เหมือนกัน เพียงเท่านี้ก็สามารถสั่งพิมพ์รูปภาพผ่านทางกล้องดิจิตอลได้แล้ว ในส่วนความสามารถในการพิมพ์รูปภาพหรือข้อความลงบนแผ่น CD หรือ DVD นั้นกำลังเริ่มนิยมขึ้นเรื่อยๆ หลายๆ ผู้ผลิตก็ทยอยออกสินค้ารุ่นใหม่ๆ ของตนที่มีความสามารถในการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความลงบนแผ่น CD หรือ DVD ได้ออกมาอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับโปรแกรมที่ใช้งานกับเครื่องอิงค์เจ็ทพรินเตอร์นั้นแต่ละผู้ผลิตก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ของตนขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงาน และประสานการทำงานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ และเครื่องพรินเตอร์ ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายอยู่แล้วส่วนจะมีคุณสมบัติในการปรับแต่งขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องพิมพ์ที่ใช้เป็นหลัก

น้ำหมึกเรื่องยุ่งๆ ของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท



เป็นที่รู้กันว่าน้ำหมึกสำหรับเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทนั้นเป็นอะไรที่แพงมากๆ โดยเฉพาะหมึกแท้สำหรับเครื่องพิมพ์ยี่ห้อนั้นๆ จริงอยู่ที่หมึกแท้มีคุณภาพสูงมาก แต่ด้วยการใช้งานจริงๆ งานส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ต้องการคุณภาพสูงมากนัก บางครั้งเป็นงานที่พิมพ์ออกมาดูแล้วก็ทิ้ง ไม่ใช่งานพิมพ์ที่สำคัญอะไรมากมาย จึงทำให้ผู้คนมากมายหาวิธีที่จะลดค่าใช้จ่ายจากการพิมพ์ลงมาด้วยการหาหมึกทดแทน

หมึกทดแทนที่ว่าซึ่งในปัจจุบันเรามักจะนิยมเรียกกับว่าหมึกเติม ซึ่งการเรียกแบบนี้มันก็มาจากลักษณะการนำตลับหมึกเดิมที่หมึกหมดแล้วมาเกะออกแล้วทำการเติมนำหมึกเข้าไปด้วยวิธีการต่างๆ จนกลายมาเป็นคำพูดง่ายๆ สั้นๆ ว่าหมึกเติม

แต่ว่าการเติมหมึกในลักษณะนั้นมันไม่สามารถทำได้กับตลับหมึกบางรุ่น ทำให้เกิดสินค้าใหม่ขึ้นมาอีกเรียกว่าเป็นหมึกเทียบ ซึ่งมีการผลิตตลับหมึกและบรรจุน้ำหมึกมาจากโรงงานเลยโดยมีการออกแบบให้ตลับหมึกมีขนาดและการทำงานเหมือนกับตลับหมึกของเครื่องพิมพ์ยี่ห้อนั้นรุ่นนั้นเลย ซึ่งตลับหมึกในลักษณะจะมีคุณภาพดีพอๆ กับตลับหมึกแท้เลยทีเดียวแต่มีราคาถูกกล่าหลายเท่าตัว และบางยี่ห้อก็ใช้หมึกพิมพ์คุณภาพสูงจนทำให้ผู้ใช้จำนวนมากที่ยังต้องการงานคุณภาพในราคาที่ประหยัดหันมาใช้ตลับหมึกเทียบกันมากขึ้น แต่ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์มักจะเรียกว่าหมึกปลอม เพราะไปแย่งช่องทางทำมาหากิน รวมไปถึงยังมีการตั้งเงื่อนไขว่าถ้าไม่ใช้หมึกแท้ก็อาจจะทำให้การรับประกันมีอันต้องสิ้นสุดลงไปก็มี

และพัฒนาขั้นสุดยอดของการประหยัดน้ำหมึกสำหรับเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทก็คือ การใช้ชุดหมึกที่เรียกกันกว่า “Ink Tank”

อิงค์แทงค์ในยุคแรกๆ นั้นก็จะเป็นการนำขวดบรรจุนำหมึกขนาดใหญ่ต่อกับท่อยางขนาดเล็กแล้วเจาะช่องเพื่อนำท่อยางใส่เข้าไปในตลับหมึกแท้ เพื่อเป็นการลดปัญหาในการเติมหมึกบ่อยๆ และเป็นการรักษาสภาพเดิมของเครื่องพิมพ์ไว้ให้ได้มากที่สุด แต่หลังๆ มานี้ทางผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ก็มีการออกแบบตลับหมึกให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ถึงขนาดที่ว่ามีการใส่วงจรขนาดเล็กเพื่อใช้ในการเซ็นเซอร์จำนวนงานพิมพ์หรือปริมาณการใช้หมึกพิมพ์ด้วยเลยทีเดียว และในที่สุดทางฝ่ายผู้ผลิตหมึกเติมก็มีการผลิตตลับหมึกสำหรับระบบการพิมพ์ที่ใช้อิงค์แทงค์ออกมาอีก คือผลิตตลับหมึกที่เข้ากับเครื่องพิมพ์เฉพาะรุ่นออกมาและที่ตัวตลับก็จะมีช่องสำหรับต่อท่อยางจากขวดบรรจุนำหมึกขนาดใหญ่มาโดยเฉพาะออกมาอีกเพื่อเป็นการเอาชนะการป้องกันของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์

จนในที่สุดผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ทั้งหลายก็รู้ดีว่าไม่สามารถเอาชนะหมึกเติมได้แน่ๆ จึงทำให้ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์เองต่างก็หันมาออกตลับหมึกราคาประหยัด ซึ่งมันก็เหมือนกับตลับหมึกแบบเทียบที่เคยมีการผลิตกันออกมาก่อน เพียงแต่คราวนี้แทนที่จะติดยี่ห้ออื่น ก็ติดยี่ห้อของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ซะเลย ก็เป็นการแก้ไขของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ได้อีกทางหนึ่ง อันนี้ประโยชน์ก็ตกเป็นของผู้บริโภคด้วยเพราะสามารถมีทางเลือกอื่นในการใช้หมึกที่มีราคาประหยัดโดยไม่ต้องห่วงเรื่องการรับประกัน

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)



เครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นถือว่าอยู่ในตลาดเครื่องพิมพ์มานานว่าเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท แต่ด้วยราคาของตัวเครื่องที่สูงกว่าจึงทำให้ผู้ใช้ในระดับโฮมยูสหันไปซื้อเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทกันมากขึ้น แต่สำหรับในตลาดของสำนักงานแล้วเครื่องพิมพ์เลเซอร์ยังคงเป็นเครื่องพิมพ์ยอดนิยม เพราะมีทั้งความเร็วในการพิมพ์ที่สูงและมีต้นทุนในการพิมพ์ที่ต่ำ

อย่างไรก็ตามในเวลานี้เครื่องพิมพ์เลเซอร์เองก็มีการพัฒนาไปมากจนทำให้ตัวเครื่องพิมพ์เองมีราคาที่ถูกลงและเริ่มมีความเข้าใจที่ต้องมากยิ่งขึ้นว่าสุดท้ายแล้วถ้าไม่ได้พิมพ์งานสีการใช้งานเลเซอร์ขาวดำเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้อิงค์เจ็ทมาพิมพ์งานขาวดำ เพราะนอกจากคุณภาพและความเร็วจะสู้งานพิมพ์จากเครื่องพิมพ์เลเซอร์ไม่ได้แล้วยังมีต้นทุนการพิมพ์ที่สูงกว่าด้วย ดังนั้นเราจึงเริ่มเห็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นใหม่มีการออกแบบตัวเครื่องให้มีความกะทัดรัดมากขึ้นมีดีไซน์ที่สวยงามมากขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองกลุ่มผู้ใช้งานในระดับโฮมยูสนี่เอง

ในขณะที่เครื่องพิมพ์เลเซอร์ในระดับที่จับกลุ่มองค์กรธุรกิจไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็จะมีการพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการนำเสนอเครื่องพิมพ์เลเซอร์สี โดยที่เครื่องพิมพ์เลเซอร์สีในปัจจุบันนั้นมีราคาที่ถูกมากๆ คือมีราคาเพียงหลักหมื่น เมื่อเทียบกับเมื่อก่อนที่ว่ากันด้วยหลักแสน และหลักหมื่นที่ว่าก็ไม่ใช่เจ็ดแปดหมื่นนะครับ เพราะเท่าที่สำรวจตลาดดูพบกว่าเราสามารถเป็นเจ้าของเครื่องพิมพ์เลเซอร์สีด้วยเงินเพียง 15,000 บาท เท่านั้น หรือถ้าเป็นรุ่นที่มีความเร็วสูงขึ้นมาสักนิดและรองรับงานพิมพ์ผ่านระบบเน็ตเวิร์คราคาในงบไม่เกิน 20,000 บาท ก็สามารถเป็นเจ้าของได้

ส่วนความละเอียดของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ไม่ว่าจะเป็นสีหรือขาวดำก็จะมีความละเอียดตั้งแต่ 600 x 600 จุดต่อตารางนิ้ว ไปจนถึง 1,200 x 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว ความเร็วในการพิมพ์ถ้าเป็นเมื่อก่อนความเร็วในการพิมพ์ขาวดำก็จะเร็วกว่างานพิมพ์สีแบบครึ่งต่อครึ่ง แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันเครื่องพิมพ์เลเซอร์สีส่วนใหญ่สามารถพิมพ์งานสีกับงานขาวดำได้ในระดับเดียวกัน หรือถ้าจะช้ากว่าก็จะแตกต่างกันไม่เกิน 5 แผ่นต่อนาที แต่ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์สีราคาประหยัดนั้นตอนนี้มันมีความเร็วในการพิมพ์เพียง 8 แผ่นตอนาทีเท่านั้น แต่ถ้าเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์สีรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงความเร็วในการพิมพ์ก็จะอยู่ในระดับ 16 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป

แต่สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ขาวดำความเร็วในการพิมพ์ต่ำสุดตอนนี้จะอยู่ที่ 16 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนหน่วยความจำของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ส่วนใหญ่ก็จะติดตั้งหน่วยความจำตั้งแต่ 2MB 8 MB, 16 MB, 32 MB , 64 MB หรือมากกว่านี้ตามแต่ที่เจ้าของผลิตภัณฑ์จะกำหนดมา ซึ่งยิ่งมีหน่วยความจำมากเท่าไหร่ก็จะทำให้เครื่องพิมพ์สามารถประมวลผล และรับงานในปริมาณที่มากแล้วพิมพ์งานออกมาได้รวดเร็วขึ้น

การเชื่อมต่อของเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นก็มีตั้งแต่ Parallel, USB, Ethernet ในส่วนนี้แล้วแต่ผู้ใช้ แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ที่เป็นการเชื่อมต่อแบบ USB ดีกว่าสำหรับการทำงานปัจจุบันเพราะจะทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วกว่ามากขึ้น และถ้าต้องการใช้งานในระบบเครือข่าย (LAN) ขั้นก็ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ Ethernet 100/1000 ได้มาให้ด้วย แต่เราจะใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1/2.0 เพื่อให้เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ของเราเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง แล้วทำการแชร์ทรัพยากรเครื่อง ให้เครื่องลูกข่าย (Client) ให้สามารถใช้งานเครื่องพรินเตอร์ตัวนั้นก็ได้เช่นกัน ซึ่งมีข้อเสียคือในการทำงานจำเป็นที่จะต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องพรินเตอร์ไว้ตลอดเวลา จึงจะสามารถสั่งพิมพ์งานได้ แต่ถ้าเป็นการเชื่อมต่อแบบ Ethernet ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนำเครื่องพรินเตอร์มาเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถนำเครื่องพรินเตอร์เครื่องที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ Ethernet นั้นไปเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายด้วยสาย LAN ได้ทันที เสมือนการทำงานว่าเครื่องพรินเตอร์เครื่องนั้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั่นเอง โดยในการทำงานก็สามารถสั่งพิมพ์งานได้ทันทีสะดวกและรวดเร็วประหยัดพลังงานมากกว่าแบบแรกมาก

โทนเนอร์ก็มีส่วนสำคัญถ้าราคาโทนเนอร์แพงก็ไม่คุ้มค่าที่จะใช้งานต้องระมัดระวังในส่วนนี้ด้วย กระดาษที่ใช้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์สามารถใช้กระดาษขนาด A4 บางรุ่นก็สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A3 ได้ ส่วนถาดใส่กระดาษในเครื่องพิมพ์เลเซอร์ บางรุ่นสามารถเพิ่มถาดกระดาษได้ เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณเอกสารมากๆ ไม่ต้องกังวลว่าปริมาณกระดาษจะพอไหม ในส่วนการใช้งาน Laser พรินเตอร์แบบขาว- ดำเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เน้นงานเอกสารเป็นหลัก ไม่ต้องการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความที่เป็นสีทำให้ได้ตัวอักษรที่คมชัดกว่าเครื่องพรินเตอร์ Inkjet หลายเท่า ส่วน Laser พรินเตอร์แบบสีเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เน้นงานด้านรูปภาพ แต่ก็มีงานด้านเอกสารเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน (Multifunction) หรือ All-In-One



สำหรับเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันหรือออลอินวันจะเป็นการนำเอาความสามารถและฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงหลักๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างครบชุด ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องพรินเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องแฟกซ์ เป็นต้น แต่สำหรับเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันในบางรุ่นอาจจะไม่ได้รวมเอาเครื่องแฟกซ์มาด้วยก็ได้ แต่หลักๆ ก็สามารถพิมพ์งาน สแกน และถ่ายเอกสารได้

ส่วนการทำงานของเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันมีการพัฒนาในเรื่องของการทำงานให้มีการทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มที่มากขึ้น อย่างที่เราจะเห็นได้จากฟังก์ชันในการถ่ายเอกสารนั่นเองซึ่งจะเป็นการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องสแกนเนอร์กับพรินเตอร์ นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มฟังก์ชัน ในการสั่งงานบางอย่างที่จะช่วยให้การถ่ายเอกสารทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้นด้วย อย่างเช่น การย่อหรือขยายเอกสาร การทำสำเนา หรือจะเป็นการปรับเลือกโหมดการถ่ายเอกสารสีหรือการถ่ายเอกสารขาว-ดำได้ เป็นต้นส่วนเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันที่มีแฟกซ์ในตัวเราจะสังเกตได้จากแผงควบคุมที่จะมีปุ่มสำหรับกดเลขหมายโทรศัพท์ได้

สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เหมาะสำหรับเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันนี้จะมีทั้งกลุ่มธุรกิจองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง โฮมออฟฟิศ และกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้านซึ่งสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้านนั้นในตอนนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทางผู้ผลิตทั้งหลายต่างก็ได้ส่งเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันราคาประหยัดลงมาทำตลาดกัน ซึ่งจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณสามพันกว่าบาทเท่านั้น และเมื่อลองเทียบกันกับการซื้อพรินเตอร์และสแกนเนอร์แบบแยกชิ้นแล้ว จะเห็นได้ว่ามีราคาต่างกันไม่มาก แต่เมื่อดูถึงจุดเด่นของเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันที่ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งกว่า และสามารถถ่ายเอกสารทั้งสีทั้งขาว-ดำได้แล้วถือว่าเป็นตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจทีเดียว



ในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันเราจะอาศัยหลักการเลือกซื้อแบบแยกชิ้นอาจจะไม่ได้ เพราะในการเลือกซื้อแบบแยกชิ้น อย่างการซื้อพรินเตอร์สักเครื่องเราอาจจะพิจารณาจากความละเอียดในการพิมพ์เป็นอันดับต้นๆ แต่สำหรับการซื้อเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันนั้นต่างกันเนื่องจากมัลติฟังก์ชันเป็นอุปกรณ์แบบ รวมชิ้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราคาดหวังว่าในการพิมพ์ ต้องมีความละเอียดเท่านี้ สแกนเนอร์ต้องสแกนงานได้ที่ความละเอียดเท่านี้นั้นเป็นเรื่องที่กำหนดได้ยาก ถ้าให้ดีเราควรเลือกซื้อตามความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานเป็นหลักดีกว่า เช่น ถ้าที่ออฟฟิศของคุณมีเครื่องแฟกซ์อยู่แล้วก็ควรเลือกซื้อเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันแบบที่ไม่มีแฟกซ์ในตัวมาใช้ ซึ่งราคาส่วนต่างระหว่างรุ่นที่มีแฟกซ์กับไม่มีแฟกซ์จะต่างกันค่อนข้างมากอยู่ ส่วนในเรื่องของความละเอียดในการพิมพ์และการสแกนงานนั้น ในการเลือกซื้อให้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานด้วย อย่างถ้ามีความจำเป็นต้องมีการใช้งานเกี่ยวกับด้านกราฟิกบ้าง เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันที่มีความละเอียดสูง ๆ ก็จะเหมาะสมกับงานแบบนี้มากกว่า หรือถ้าหากมีการใช้งานการพิมพ์หรือการสแกนที่ต้องการความละเอียดสูงจริงๆ หรือมีการใช้งานเป็นประจำ ก็ควรจะเลือกซื้อแบบแยกชิ้นไปเลยดีกว่าเพราะในการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงนั้นอุปกรณ์แบบแยกชิ้นย่อมทำงานได้ดีกว่าเสมอ เราต้องอย่าลืมว่าเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันนั้นถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานให้มากขึ้นเท่านั้น

สำหรับความละเอียดก็มีเริ่มต้นตั้งแต่ 600 x 600 จุดต่อตารางนิ้ว, 1200 x 1200 ตารางนิ้ว ความ สามารถในการพิมพ์ขาว-ดำ 12 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป พิมพ์สี 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนความละเอียดในการสแกนตั้งแต่ 600 x 1200 จุดต่อตารางนิ้ว ยิ่งมากก็ยิ่งสแกนภาพที่ความละเอียดสูงได้ จำนวนบิตสีก็สำคัญส่วนใหญ่จะประมาณ 48 บิตสี บางรุ่นยังสามารถสแกนแล้วย่อ – ขยายได้ตั้งแต่ 25% - 400% ซึ่งในจุดนี้เป็นส่วนเพิ่มเติม หน่วยความจำในเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันก็สำคัญควรจะมีประมาณ 16 MB ขึ้นไป จะได้ช่วยประมวลผลในการพิมพ์ได้เร็วขึ้น การเชื่อมต่อสามารถเลือกได้ว่าต้องการแบบใด Parallel, USB 1.1/2.0, FireWire และ Ethernet ส่วนตัวที่น่าสนใจก็จะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน USB 1.1/2.0 เพราะราคาแทบไม่ต่างกันเลยกับแบบ Parallel

หลังจากที่ได้ทราบคุณสมบัติโดยทั่วไปของเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันไปแล้ว ทีนี้ก็ต้องมาดูเรื่องเทคโนโลยีในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันกันบ้าง

เทคโนโลยีการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันมันก็จะมีอยู่ด้วยกันสามแบบตามชนิดของเครื่องพิมพ์ที่เราได้แนะนำไปในตอนต้นคือ เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันแบบอิงค์เจ็ท ที่พิมพ์ได้ทั้งงานสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันแบบเลเซอร์ขาวดำ และสุดท้ายก็คือเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันแบบเลเซอร์สี ซึ่งแน่นอนว่ารูปแบบการใช้งานก็จะมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

สำหรับผู้ใช้ในระดับโฮมยูสส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเลือกใช้เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันแบบที่มีการพิมพ์เป็นแบบอิงค์เจ็ท เพราะมีปริมาณงานพิมพ์น้อย ตัวเครื่องมีราคาถูก

สำหรับงานในระดับองค์กรก็ทางเลือกที่เหมาะที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเครื่องมัลติฟังก์ชันที่ใช้การพิมพ์แบบเลเซอร์ ส่วนจะเป็นแบบเลเซอร์ขาวดำ หรือแบบเลเซอร์สีก็คงต้องดูความต้องการของการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งข้อพิจารณาในส่วนของการพิมพ์ก็ไม่แตกต่างไปจากการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ชนิดต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

แนะนำ GelSprinter เครื่องพิมพ์แบบ Liquid Gel เทคโนโลยีการพิมพ์แบบใหม่



ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2007 เราได้มีโอกาสสัมผัสกับเครื่องพิมพ์ชนิดใหม่ที่มีพื้นฐานการทำงานในแบบเดียวกันกับเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท แต่ว่ามีการใช้หมึกพิมพ์ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “Liquid Gel” และมีการเรียกเครื่องพิมพ์ที่ใช้การพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ที่เป็น Liquid Gel นี้ว่า “GelSprinter” บริษัทที่คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีนี้ออกมาก็คือบริษัท RICOH

เทคโนโลยีของ GelSprinter นั้นถ้าดูถึงหลักการทำงานแล้วมันก็คือเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทนี่เอง แต่ว่าเครื่องพิมพ์ GelSprinter ของ Ricoh นั้นได้มีการพัฒนาในเรื่องของหัวพิมพ์ให้มีขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถพิมพ์งานด้วยความเร็วสูงระดับ 20 แผ่นต่อนาที ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์สีหรือพิมพ์แบบขาวดำ และบางรุ่นก็สามารถพิมพ์ด้วยความเร็วสูงถึง 30 แผ่นต่อนาทีเลยทีเดียว เรียกได้ว่า GelSprinter นั้น อาจจะเข้ามาแทรกช่องว่างของตลาดที่ต้องการเครื่องพิมพ์สีราคาที่ไม่แพงใช้งานง่ายเหมือนอิงค์เจ็ท แต่มีต้นทุนในการพิมพ์งานสีและมีความละเอียดในระดับเทียบเท่ากับเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์

Liquid Gel นั้นมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าหมึกพิมพ์ที่พบในเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ททั่วๆ ไป เพราะตัว Liquid Gel นั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่มีความเข้มข้นสูง และแทบจะแห้งในทันทีที่มันสัมผัสกับอากาศ และด้วยคุณสมบัตินี้ตัว Liquid Gel จึงที่มีการยึดเกาะต่อพื้นผิวกระดาษที่ดีกว่า ซึ่งมันจะไม่ซึมลงไปในเนื้อของกระดาษทำให้คุณภาพการพิมพ์งานสีบนกระดาษธรรมดาก็ดูดีได้เช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าต้นทุนการพิมพ์นั้นมันไม่ได้อยู่ที่ราคาเครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์เพียงอย่างเดียวแต่ต้นทุนที่สำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือเรื่องของกระดาษ

การใช้เครื่องพิมพ์แบบ GelSprinter ทำให้คุณสามารถพิมพ์งานคุณภาพสูงด้วยกระดาษ A4 น้ำหนัก 70 แกรมได้ ในขณะที่การพิมพ์งานคุณภาพสูงของเครื่องพิมพ์อย่างอิงค์เจ็ทคุณจะต้องใช้กระดาษคุณภาพสูงตามไปด้วย โดยที่มีต้นทุนของกระดาษเพียงอย่างเดียวก็มากกว่าแผ่นละ 1 บาทอยู่แล้ว

แถมการพิมพ์ในแบบสองหน้านั้นเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทก็มีข้อจำกัดอย่างมาก ยิ่งถ้าเป็นเอกสารที่พื้นที่ภาพขนาดใหญ่มีความละเอียดสูงการพิมพ์บนกระดาษธรรมดาแล้วทำให้มันพิมพ์แบบสองหน้านั้นเป็นไปไม่ได้เลยเพราะน้ำหมึกของเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทมันจะซึมไปยังอีกด้านของกระดาษ แต่สำหรับเครื่องพิมพ์ GelSprinter นั้นเราสามารถที่จะทำการพิมพ์สีแบบสองหน้าบนกระดาษ 70 แกรมได้โดยไร้ปัญหา และยังมีระบบการกลับกระดาษเพื่อการพิมพ์สองหน้าแบบอัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติตรงนี้ก็เทียบได้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ขนาดใหญ่เลยทีเดียว

ถ้าหากเราจะวิเคราะห์กันจริงๆ แล้วเราก็จะพบว่า เทคโนโลยี Liquid Gel และเครื่องพิมพ์ GelSprinter นั้นมีต้นทุนการพิมพ์ไม่แตกต่างไปจากเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์เลย ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ขาวดำ หรือการพิมพ์สี โดยเฉพาะเมื่อมาวิเคราะห์ดูว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์นั้นจะมีวัสดุสิ้นเปลืองค่อนข้างมากกว่าเครื่องพิมพ์อย่างพวกอิงค์เจ็ทหรือเครื่องพิมพ์แบบ GelSprinter เช่นดรัมสำหรับการพิมพ์แต่ละสีนั้นจะเป็นต้องใช้ดรัมถึง 4 ชุดด้วยกัน ซึ่งตรงนี้เครื่องพิมพ์แบบ GelSprinter นั้นไม่ต้องมีส่วนนี้เลย

นอกจากเรื่องของการประหยัดต้นทุนของการพิมพ์ที่วัดกันด้วยราคาค่าของเงินแล้ว การประหยัดเวลาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอยู่ไม่น้อย เครื่องพิมพ์แบบ GelSprinter นั้นทำเวลาในการพิมพ์ได้ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทมาก และอาจจะสูสีกับเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์สีเลยด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะการพิมพ์งานในครั้งแรกของการเปิดเครื่องนั้น GelSprinter ใช้เวลาน้อยมาก เรียกได้ว่าพอเปิดเครื่องขึ้นมาก็พร้อมที่จะพิมพ์ได้ทันที นี่ยังไม่นับเรื่องการใช้ไฟฟ้าของเครื่องพิมพ์ GelSprinter ที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 75 วัตต์ ส่วนเครื่องพิมพ์เลเซอร์สีขั้นต่ำๆ ก็ต้องมีระดับ 150 วัตต์ขึ้นไป ดังนั้นถ้ามาคำนวณราคาค่าใช้จ่ายกันจริงๆ แล้วเราก็จะพบว่าในระยะยาวเครื่องพิมพ์แบบ GelSprinter นั้นจะมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ประหยัดกว่ามาก

สรุปหลักในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์

หลักๆ แล้ว ก็จะมีเรื่องของความเร็วในการพิมพ์ ความละเอียดในการพิมพ์ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ ส่วนจะใช้เรื่องใดเป็นประเด็นหลักก็คงจะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ เช่นถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ และงานพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นการพิมพ์เพื่อดูกันเองแบบภายใน เครื่องพิมพ์ที่ใช้ก็ควรจะเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ที่ต่ำที่สุด ในขณะที่ความละเอียดและความเร็วในการพิมพ์อาจจะเป็นเรื่องรองๆ ลงไป

ในขณะเดียวกันถ้าคุณมีอาชีพที่ต้องใช้งานพิมพ์ในการนำเสนอให้กับลูกค้า ความละเอียดของงานพิมพ์ก็อาจจะต้องเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง แล้วอาจจะตามด้วยค่าใช้จ่ายและความเร็วในการพิมพ์

หรือถ้าต้องมีงานที่พิมพ์เป็นจำนวนมากๆ แน่นอนว่าก็คงจะต้องดูเรื่องของความเร็วในการพิมพ์เป็นหลัก และก็มาพิจารณาอีกทีว่างานที่พิมพ์จำนวนมากนั้นต้องเป็นงานคุณภาพสูงหรือไม่ ถ้าไม่คุณก็สามารถเลือกเครื่องพิมพ์ที่มีความละเอียดไม่สูงมากนัก แต่มีต้นทุนในการพิมพ์ที่ต่ำก็ได้

ส่วนประเด็นอื่นๆ อย่างเช่นฟังก์ชันการใช้งานที่สะดวก ถาดป้อนกระดาษแบบอัตโนมัติ ระบบการพิมพ์สองหน้า การใช้ร่วมกันในระบบเน็ตเวิร์ค รวมไปถึงเครื่องพิมพ์แบบออลอินวันและอื่นๆ อีกสารพัดเรื่องนั้นมันก็เป็นองค์ประกอบที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เช่นถ้าซื้อเครื่องพิมพ์ไปใช้ที่บ้านอยู่คนเดียวก็คงจะไม่ต้องซื้อเครื่องพิมพ์ที่มีช่องต่อระบบเน็ตเวิร์ค ในทางกลับกันถ้าเป็นเครื่องพิมพ์ในหน่วยงานที่ต้องใช้งานร่วมกันการพิจารณาซื้อเครื่องพิมพ์ที่ต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์คเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้อย่างสะดวกมันก็เป็นเหตุผลที่สมควร


สแกนเนอร์ (Scanner) คืออะไร



สแกนเนอร์ (Scanner)

สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ

สแกนเนอร์แบ่งป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet - Fed Scanner)
2. สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
3. สแกนเนอร์มือถือ (Hand - Held Scanner)

สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet - Fed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกน ซึ่งอยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้


สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)

สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก

สแกนเนอร์มือถือ (Hand - Held Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไป บนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน

เทคโนโลยีการสแกนภาพ

* แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
เทคโนโลยีแบบ PMT หรือ Photomultiplier tube ใช้หัวอ่านที่ทำจากหลอดสูญญากาศให้เป็นสัญญาณ ไฟฟ้าและสามารถขยาย สัญญาณได้กว่าร้อยเท่า ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงและมีราคาแพง

* แบบ CIS (Contact Image Sensor)
เทคโนโลยีแบบ CIS หรือ Contact image sensor ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์แบบสัมผัสภาพซึงเป็นระบบการทำงานที่ตัวรับแสง จะรับแสงที่สะท้อนกลับจากภาพมายังตัวเซนเซอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านกระจกเลนส์ ลำแสงสีขาวที่ใช้ในการสแกนจะมี 3 หลอดสีคือ สีแดง , น้ำเงิน และ เขียว ทั้ง 3 หลอดจะสร้างแสงสีขาวขึ้นมาเพื่อใช้สแกน สำหรับสแกนเนอร์ที่ใช้ระบบ CIS นี้ ให้ความละเอียดสูงสุดได้ประมาณ 600 จุดต่อนิ้วเท่านั้น ระบบนี้จะมีข้อจำกัดเรื่องของการโฟกัส คือ ไม่สามารถโฟกัสได้เกิน 0.2 มม. จึงทำให้ไม่สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้

* แบบ CCD (Charge-Coupled Deiver)
เทคโนโลยีแบบ CCD หรือ Charged-coupled device ใช้หัวอ่านที่ไวต่อการรับแสงและสามารถแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า สแกนเนอร์ส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์แบบ CCD จึงทำให้สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้ แต่รูปทรงจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ CIS เพื่อรองรับแผงวงจรที่ใช้พลังงานสูง การทำงานของสแกนเนอร์แบบ CCD คือการส่องแสงไปที่วัตถุที่ต้องการสแกน เมื่อแสงสะท้อนกับวัตถุและสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อน กลับออกมาจากวัตถุ และแปลงความเข้มของแสงให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล เพื่อส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลภาพหรือสีนั้นๆ ออกมา ในลักษณะความเข้มข้นของแสงที่ออกมาจากวัตถุ (ส่วนของสีที่มีสีเข้มจะสะท้อนแสงน้อยกว่าส่วนที่มีสีอ่อน) การทำงานของเครื่องสแกนเนอร์จะถูกควบคุมโดยซอฟแวร์ที่เรียกว่า TWAIN ซึ่งจะควบคุมการอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปดิจิตอล เป็นข้อมูลที่ CCD สามารถตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุนั้น แต่ในกรณีที่วัตถุนั้นเป็นลักษณะโปร่งแสง เช่น ฟิล์ม หรือแผ่นใส แสงที่ออกมาจากเครื่องสแกนเนอร์ จะทะลุผ่านม่านวัตถุนั้นออกไป โดยจะไม่มีการสะท้อน หรือถ้ามีการสะท้อน ก็จะน้อยมากจน CCD ตรวจจับความเข้มของแสงนั้นไม่ได้ หรือถ้าได้ก็อาจเป็นข้อมูลที่มีความผิดเพี้ยนไป ดังนั้นการสแกนวัตถุที่มีลักษณะโปร่งแสงนั้น ต้องมีชุดหลอดไฟส่องสว่างด้านบนของวัตถุนั้น ซึงอุปกรณ์ชนิดนี้ได้แก่ Transparency Unit หรือ Film Adapter

ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้

* ภาพ Single Bit
ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ

* ภาพ Gray Scale
ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น

* ภาพสี
หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้ สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร

* ตัวหนังสือ
ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้

การเลือกซื้อสแกนเนอร์

     


   ในยุคนี้ต้องถือว่า สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่แพ้ อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทอื่นๆ เนื่องจากหน้าที่ของอุปกรณ์ ชิ้นนี้ ก็คือ การเก็บข้อมูลที่เป็นภาพกราฟก ภาพถ่าย หรือเอกสารไว้ในฮาร์ดดิสก์ภายในคอมพิวเตอร์ เรียกว่า เป็นการจัดเก็บเอกสารที่เคยอยู่ในรูปของกระดาษ ให้ไปอยู่ในรูปแบบดิจิตอล

ประโยชน์ของสแกนเนอร์จะช่วยรักษาคุณภาพของภาพ หรือข้อมูลเหล่านั้น ให้คงทนถาวร มากกว่าการเก็บในรูปของเอกสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคอินเทอร์เน็ตด้วยแล้ว สแกนเนอร์จะยิ่งเพิ่มความสะดวกในการจัดทำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น สแกน รูปภาพสำหรับใช้ตกแต่งเว็บไซต์ หรือจัดเก็บเป็นอัลบั้ม หรืออยู่ในไฟล์ข้อมูล

แม้หลายคนเริ่มมองว่า กล้องดิจิตอลจะมาเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่มาเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้ ข้อดีของกล้องดิจิตอลความสะดวกให้กับผู้ใช้มากกว่าเครื่องสแกนเนอร์ โดยเฉพาะความสะดวก และความรวดเร็วของกล้องดิจิตอลที่มีมากกว่าสแกนเนอร์ เพราะผู้ใช้สามารถ download รูปภาพจากกล้องดิจิตอลใส่ลงในฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่องได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการสแกนภาพให้ยุ่งยาก

อย่างไรก็ตาม ราคาที่ถูกกว่าของเครื่องสแกนเนอร์ รวมทั้งการเก็บข้อมูลบางประเภท เช่น การทำเพลท เครื่องสแกนเนอร์ยังมีความจำเป็น ทำให้สแกนเนอร์ยังคงเป็นทางเลือกของผู้ใช้คอม พิวเตอร์

สำหรับกลุ่มผู้ใช้เครื่องสแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. กลุ่มผู้ใช้ ตามบ้าน (Home Use) 2. กลุ่มธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อมหรือ SME และ 3. กลุ่ม High End Scanner ทั้ง 3 กลุ่มนี้จะมีความต้องการใช้งานที่แตกต่างกันไป ผู้ผลิต เครื่องสแกนเนอร์เองก็จะผลิตเครื่องออกมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งมีความต้องการในเรื่องของคุณภาพ และราคาที่ต่างกัน

วิธีการเลือกซื้อสแกนเนอร์ จะพิจารณาคุณสมบัติหลักๆ ดังต่อไปนี้

1. ความคมชัด หรือ Resolution คือความละเอียดในการสแกนภาพ จะมีการ ระบุค่าความคมชัดของสแกนเนอร์เอาไว้ จะ ต้องดูที่ค่า dpi และเวลาดูจะต้องพิจารณา ตัวเลขตัวหน้าเป็นหลัก เช่นว่า 300 คูณ 1200 dpi ให้ดูตัวเลข 300 เพราะหมายถึง จำนวนของเซนเซอร์ หรือตัวตรวจจับสัญญาณภาพ ที่อยู่บนหัวสแกน ยิ่งมีตัวเซนเซอร์มากเท่าใดก็ยิ่งหมายถึงความละเอียดของภาพจะสูงตามไปด้วย

การพิจารณาขึ้นอยู่กับการใช้งาน หากต้องการสแกนภาพเพื่อไปใส่ลงบนเว็บไซต์ จะใช้ระดับ 150 dpi แต่ต้องการพิมพ์ภาพ ควรจะเป็นระดับ 300 dpi แต่หากต้องการนำไปสู่กระบวนการพิมพ์ออพ เซ็ท ควรจะมีค่าระดับ 300 dpi ขึ้นไปจน ถึง 600 dpi หรือหากสแกนภาพสไลด์เพื่อ นำไปทำภาพโปสเตอร์ขนาดใหญ่ ควรมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 600 dpi

2. จำนวนสีของเครื่องสแกนเนอร์ จะพิจารณาจากจำนวน bit สี จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะการใช้งาน หากเป็นการสแกนภาพ ปกติ เพื่อเก็บเอกสารหรือใส่ลงในเว็บไซต์ ก็อาจใช้แค่ 24 bit แต่หากใช้สแกนสไลด์ ฟิล์มเนกาตีฟ ก็ต้องการค่าความคมชัดและ การกระจายแสงสีที่มากขึ้น ควรซื้อรุ่นที่มี 30 bit ขึ้นไป

3. ความเร็วในการทำงาน มาจากปัจจัย 2 ส่วน คือ ความเร็วในการต่อเชื่อม และความเร็วในการอ่านข้อมูล

สำหรับความเร็วในการต่อเชื่อมหรืออินเตอร์เฟส จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ระบบต่อเชื่อมว่าเป็นแบบใด ซึ่งปัจจุบันตัวเชื่อมต่อหรือพอร์ต 3 ระบบ คือ พอร์ต แบบ parallel มักจะใช้กับเครื่องสแกนเนอร์ ราคาถูก เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำ การใช้ งานปานกลาง แต่การส่งผ่านข้อมูลจะทำ ได้ช้ากว่าพอร์ตแบบ USB ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ใหม่กว่า และกำลังมาทดแทนพอร์ตแบบ parallel เหตุผลมาจากความเร็วและความ สะดวกในการติดตั้ง ทำให้ USB กลายเป็น มาตรฐานใหม่ของสแกนเนอร์ไปแล้ว

แต่สำหรับสแกนเนอร์ระดับมือ อาชีพ มักจะใช้ระบบต่อเชื่อม SCSI เนื่อง จากความสามารถที่ให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่สูงมาก เหมาะกับการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมาก จึงเหมาะสำหรับการสแกนภาพกราฟิกคุณภาพสูง หรือสแกนภาพจำนวนมากๆ แต่การใช้งาน จะต้องมี การ์ดควบคุมแบบ SCSI ติดตั้งร่วมอยู่ด้วย

สำหรับความเร็วในการอ่านข้อมูล จะขึ้นอยู่กับตัว Sensor chip ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 เทคโนโลยี คือ CCD ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเดิม และ CIS เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทีหลัง แต่ทั้งสองระบบใช้แผ่นเวเฟอร์ ซิลิคอนเหมือนกัน และมีตัวกรองแสงเหมือน กัน แตกต่างกันตรงที่ระบบ CCD ต้องมีตัวแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ในขณะที่ CIS มีอุปกรณ์นี้อยู่ในตัว

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ CIS จะกินไฟ และ กินเนื้อที่ในการจัดงาน เรียกว่า มีขนาดเล็กกว่าเทคโนโลยี CCD แต่ข้อเสียก็คือ การตรวจจับสัญญาณภาพของ CIS แคบกว่า ทำให้คุณภาพในการสแกนภาพของ CIS สู้ระบบ CCD ไม่ได้

4. โปรแกรมเกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะโปรแกรม OCR ที่ช่วยในการสแกนข้อความ เพื่อไปจัดเก็บเป็นไฟล์เอกสารที่สามารถแก้ไขได้ โดยเฉพาะหากต้องมีการตกแต่งภาพ ต้องดูว่ามีการแถมโปรแกรมตกแต่งภาพมาให้ด้วยหรือไม่

5. คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เช่น ความ ง่ายในการใช้งานด้วยปุ่มเพียงปุ่มเดียว เช่น ปุ่มสแกนถ่ายเอกสาร สแกนส่งแฟกซ์ และ สแกนส่งอีเมล เมื่อกดปุ่มสแกน เครื่องจะทำงาน และเชื่อมโยงเข้ากับโปรแกรมที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ

หรืออย่างระบบป้อนกระดาษอัตโนมัติ เป็นอีกคุณสมบัติที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน และคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ความสามารถ ในการสแกนฟิล์ม เป็นฟิล์มแบบใด ฟิล์มสไลด์ หรือฟิล์มเนกทีฟ เนื่องจากความคมชัดของภาพที่ได้ออกมาจากการสแกนจากฟิล์มสไลด์นั้น จะดีกว่าจากรูปภาพปกติ

ทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ ในแต่ละกลุ่ม

การเลือกซื้อสแกนเนอร์นั้น ควรจะเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกันไป เพื่อไม่ต้องจ่ายแพง หรือไม่เหมาะสม ซึ่งผู้ผลิตเครื่องสแกนเนอร์ในแต่ละยี่ห้อ จะผลิตเครื่องหลายรุ่นที่ผลิตออกมาตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน

ผู้ใช้ตามบ้าน (Home Use) ลูกค้า กลุ่มนี้มักจะไม่ต้องการเครื่องราคาแพง ซึ่ง ปัจจุบันราคาสแกนเนอร์ลดลงมาเหลือไม่กี่พันบาท มีข้อแนะนำว่า ควรจะเลือกซื้อสแกนเนอร์ที่มีความละเอียด 600 คูณ 600 dpi และควรใช้ระบบต่อด้วย USB Port จะ ดีกว่าระบบต่อเชื่อมด้วยระบบ Parallel Port เพราะจะดีว่าทั้งในแง่ของความเร็วและการ ติดตั้ง

ผู้ใช้ที่เป็นสำนักงานขนาดเล็กและกลาง (SOHO) ลูกค้ากลุ่มนี้อาจต้องคำนึง ถึงประสิทธิภาพของการใช้งานมากกว่าในเรื่องของราคา การเลือกใช้งานควรจะเลือก ซื้อสแกนเนอร์ที่มีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200 dpi ขึ้นไป และมีความละเอียดของจำนวนสี หรือ color dept ตั้งแต่ 42 bit ความเร็วในการสแกนภาพเป็นสิ่งที่จำเป็น จึงควรเลือกอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นระบบ USB Port หรือ SCSI Port

กลุ่มผู้ใช้ระดับมืออาชีพหรือ Hight end scanner กลุ่มนี้จะใช้งานประเภทกราฟิกคณภาพสูงสุด จึงต้องการคุณสมบัติ การทำงานของเครื่องสูงสุด ทั้งในแง่ของความละเอียด และขนาด bit ของสี และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ความสามารถในการสแกนฟิล์ม

ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องสแกนเนอร์เกือบ 10 ยี่ห้อที่วางขายอยู่ในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อยู่เดิม อาทิ แคนนอน ฮิวเลตต์-แพคการ์ด คอมแพค ฟูจิตสึ เอเซอร์ และที่วางขายในห้างพันธ์ทิพย์ ก็มียูแมกซ์ ไมโครเทค ส่วนใครจะเลือกซื้อสแกนเนอร์ยี่ห้อใด ก็เลือกดูได้ตามความเหมาะสมและตามกำลังเงิน

แนวโน้มในอนาคตของเครื่องสแกนเนอร์ นอกจากจะถูกแทรกซึมด้วยกล้องดิจิตอล ที่จะเข้ามาทดแทนเครื่องสแกนเนอร์ในบางส่วน โดยเฉพาะในธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วในการบันทึกภาพแบบปัจจุบันทันด่วน เช่น สิ่งพิมพ์ และประกันภัยรถยนต์

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

- Copyright © ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น - Date A Live - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -