Popular Post

Archive for กรกฎาคม 2013

ซาวการ์ด Sound Card

By : Love For You

โมเด็ม Modem

By : Love For You




โมเด็ม 

(อังกฤษ: modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอะนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิทัลและแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณอะนาล็อกที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และสัญญาณดิจิทัลที่ง่ายต่อการประมวลผล
อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงเลข 0 และ 1 ซึ่งใช้ในคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณ
ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น

มาตรฐานของโมเด็ม

โมเด็มโทรศัพท์ในช่วงแรกถูกพัฒนาโดยบริษัทหลายแห่ง และไม่มีมาตรฐานในการทำงานด้วยกัน ในภายหลังได้มีการสร้างมาตรฐานการส่งข้อมูลของโมเด็มขึ้น ซึ่งพัฒนาอัตราการส่งข้อมูลให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


มาตรฐานความเร็วสูงสุด (bit/s)เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.หมายเหตุ
Smartmodem3002524พัฒนาโดย Hayes Communications
v.329,6002527-
v.32bis14,4002534-
v.32ter19,200ไม่ระบุพัฒนาโดย AT&T
v.3428,8002537-
v.34bis33,6002539-
v.9056,0002541ความเร็วสูงสุดของสายโทรศัพท์
v.9256,0002543เป็นโมเด็มแบบ Dial-Up รุ่นสุดท้ายที่มีการพัฒนา เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสายโทรศัพท์



การแบ่งประเภทโมเด็ม ข้อดี-ข้อเสีย

ตัวอย่างโมเด็มแบบ Internal

1. ราคาถูก
2. ติดตั้งยาก ต้องเปิดฝาเครื่องเพื่อติดตั้ง
3. ไม่เปลือง Serial Port ของเครื่องคอมพิวเตอร์ 
4. เคลื่อนย้ายไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ลำบาก
5. ต้องการ ซีพียู ความเร็วสูงหรือ MMX ขึ้นไป
6. ไม่ต้องมีการต่อสายไฟหรือแหล่งจ่ายไฟเพิ่มเติม
7. พบปัญหาต่าง ๆ ได้บ่อย เช่นสายหลุดง่าย

ตัวอย่างโมเด็มแบบExternal


1. ราคาแพง
2. ติดตั้งโดยใช้สายเคเบิลต่อผ่าน Serial Port
3. จะเปลือง Serial Port เพราะใช้ในการต่อกับโมเด็ม
4. เคลื่อนย้ายไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่าย
5. ใช้กับ ซีพียู รุ่นเก่า ๆ ได้
6. ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและต่อสายไฟต่างหาก
7. ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้งาน

การติดตั้งโมเด็ม


การติดตั้งโมเด็ม (ถ้ามีการติดตั้งโมเด็มอยู่แล้วท่านข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย)

โดยทั่วไปโมเด็มแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Internal และ External และมีขั้นตอนในการติดตั้งดังนี้
2. โทรศัพท์สายตรง 1 หมายเลข
ขั้นตอนการติดตั้ง Driver (Software Modem) มีดังนี้
- เรียกหน้าต่าง Control Panel ขึ้นมาโดยคลิกปุ่ม Start > Settings > แล้วเลื่อนเมาส์มาที่ Control Panel คลิกเมาส์หนึ่งครั้ง สำหรับผู้ที่ใช้ Windows 95 หรือ 98 ก็ทำลักษณะเดียวกัน ดังรูป




จอถามว่าท่านต้องการติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่วินโดว์เจอหรือไม่ ซึ่งจะมีช้อยให้เลือกว่า จะตอบ No หรือ Yes ให้ท่านตอบ No แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป
- เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าต่างถามว่าท่านต้องการให้วินโดว์ค้นหาฮาร์ดแวร์ที่จะติดตั้งหรือไม่ ให้ตอบ No แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป



- หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกว่า ท่านจะติดตั้งอะไร ให้เลือก โมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป
- เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าต่างถามว่าท่านต้องการให้วินโดว์ค้นหาฮาร์ดแวร์ที่จะติดตั้งหรือไม่ ให้ตอบ No แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป


- หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกว่า ท่านจะติดตั้งอะไร ให้เลือก โมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป
- หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกว่า ท่านจะติดตั้งอะไร ให้เลือก โมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป
- หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกว่า ท่านจะติดตั้งอะไร ให้เลือก โมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป
ดังรูป เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าต่างให้ใส่ที่อยู่ของไดรว์เวอร์ที่จะติดตั้ง เช่น ไดรว์ A: หรือ ไดรว์ D: เป็นต้น หรือจะคลิกปุ่ม Brows เพื่อหาไดรว์เวอร์ เมื่อเลือกไดรว์ทเสร็จแล้วให้คลิก OK ตามลำดังเมื่อเลือกไดรว์เสร็จ หลังจากนั้นวินโดวส์จะทำการอ่านและก๊อปปี้ไฟล์ที่จำเป็นในการติดตั้งจากแผ่นดิสก์ หรือ ซีดีรอมลงในเครื่อง ถึงขั้นตอนนี้วินโดวส์อาจจะถามหาไฟล์จากแผ่นซีดี Windows 95,98 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมไว้ด้วย
เสร็จแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาเพื่อบอกว่าท่านได้ทำการติดตั้งโมเด็มเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม Finish ถือว่าเสร็จขั้นตอน ดังรูป
สอบถามจากร้านที่ซื้อคอมพิวเตอร์ และให้ติดตั้งโมเด็มให้เรียบร้อย





External Modem หรือ เรียกว่าโมเด็มภายนอก


ขั้นตอนการเตรียมและติดตั้งอุปกรณ์ อุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบด้วย


1. โมเด็ม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น เช่น สายสัญญาณ , ตัวแปลงไฟ , ไดรว์เวอร์


ต่อสายโมเด็มเข้าด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยต่อเข้ากับพอร์ต com1, com2 หรือ LPT1 อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อสายโทรเข้ากับโมเด็มตรงช่อง Line ในกรณีที่ท่านต้องการรับโทรศัพท์สายนอกที่โทรเข้ามาให้ท่านต่อ สายโทรศัพท์อีกเส้นจากตัวโทรศัพท์ไปที่โมเด็มตรงช่อง Phone (หมายเหตุ ถ้าท่านกำลังใช้อินเตอร์เน็ตอยู่แล้วมีคนโทรเข้ามา จะมีผลให้การติดต่ออินเตอร์เน็ตหลุดทันที) เสร็จแล้วให้ต่อตัวแปลงไฟ (adapter) และเสียบปลั๊กพร้อมเปิดสวิชต์โมเดมให้เรียบร้อย เมื่อต่ออุปกรณ์ต่างๆ เสร็จแล้วให้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์





- หลังจากเข้ามาในหน้าต่าง Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Add New Hardware สำหรับผู้ที่ใช้วินโดวส์ 95 หรือ 98 ถึงแม้หน้าต่างของ Control Panel จะแตกต่างออกไปแต่ยังใช้ไอคอนเดียวกัน ดังรูป


- หลังจากนั้นจะขึ้นหน้าต่างในการเตรียมพร้อมเพื่อติดตั้งให้คลิกเมาส์ปุ่ม Next > ดังรูป 1.3 เสร็จแล้ววินโดวส์จะขึ้นหน้าต่างใหม่ขึ้นมาเพื่อแจ้งว่าวินโดว์จะค้นหาฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่แล้วบนเครื่องของท่านให้คลิกปุ่ม Next > ดังรูป


- ถ้าวินโดว์เจอฮาร์ดแวร์ที่อยู่บนเครื่องของท่านและยังไม่ได้ติดตั้งไดรว์เวอร์ วินโดว์จะขึ้นหน้า








- หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกชนิด และความเร็วของโมเด็ม แต่ให้คุณคลิกปุ่ม Have Disk








เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next> จะเห็นหน้าต่างที่แสดงถึงการเสร็จสิ้นการติดตั้งแล้วให้คลิกปุ่ม Finish ถือว่าจบขั้นตอนการติดตั้ง Modem แต่หน้าจอถามให้ใส่รายละเอียดของ ประเทศ ให้เลือกประเทศไทย และหมายเลข Area Code คือ 02 เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next>





Internal Modem หรือเรียกว่าโมเด็มภายใน


จะอยู่ในรูปของการ์ด หรือ อยู่บน Mainboard ของ เครื่องหรือที่เรียกว่า on board ส่วนมากจะถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็น Plug & Play หมายความว่าถ้าท่านเสียบโมเด็มเข้ากับแผงระบบของคอมพิวเตอร์ (Main Board) แล้ว ซีพียูจะรับรู้และเข้ามาตรวจเช็คภายหลังจากตรวจหน่วยความจำหลัก ถ้าโมเด็มของท่านวินโดว์ไม่รู้จักท่านต้องติดตั้งเหมือนกับ การติดตั้งโมเด็มภายนอก โดยมีขั้นตอนดังนี้อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม


1. โมเด็ม จะอยู่ในรูปของการ์ด หรือ อยู่บนบอร์ด (on board) ก็ได้ ถ้าท่านไม่รู้ว่าเป็นแบบไหน


2. โทรศัพท์สายตรง 1 หมายเลข พร้อมเสียบสายเข้ากับโมเด็มตรงช่อง Line และ เสียบสายอีกเส้นจากโมเด็มตรงช่อง Phone เข้าเครื่องรับโทรศัพท์


- เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่ปัญหาอะไรในระหว่างเข้าหน้าจอวินโดว์ๆ จะตรวจเช็คได้ว่ามีฮาร์ดแวร์ตัวใหม่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และถามว่าท่านต้องการจะติดตั้งหรือไม่ ให้ติดตั้งโดยติดตั้งไดรว์เวอร์จากไดรว์ A: หรือ ไดรว์ D: หรือที่อื่นๆ เมื่อติดตั้งเสร็จวินโดว์จะถามว่าจะให้ reset เครื่องใหม่หรือไม่ ให้คลิกปุ่ม Yes เสร็จแล้วเครื่องบูตใหม่ถือว่าเป็นเสร็จสิ้นการติดตั้ง








การเลือกซื้อโมเด็ม


นับถอยหลังกลับไปตั้งแต่ที่โมเด็มรุ่น Bell Dataphone 103 โมเด็มตัวแรกของโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมา ในยุคนั้นก็สามารถสร้างความ ตื่นเต้นได้มาก ถึงแม้ว่าความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ในยุคนั้น จะไม่รวดเร็ว เหมือนกับในปัจจุบันที่มีความสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทั้ง ภาพ และเสียงด้วยความเร็วสูง การพัฒนาโมเด็มอาจจะไม่รวดเร็วเหมือนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ แต่เทคโนโลยีโมเด็มก็มีแต่จะ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง







อินเทอร์เน็ตนับว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สามารถย่อโลกทั้งโลกให้มาอยู่ในที่เดียวกัน พร้อมกันนั้นการพัฒนาในด้านเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตก็มี การเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีการขยายวงกว้างสังคม ของอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ และก็คงจะไม่มีวันมีที่สิ้นสุด ลองคิดเล่นๆ กันดูว่า ถ้าวันหนึ่งอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะรวบรวมเอาความรู้ และข้อมูลทั้งหมดที่มนุษย์จะสามารถคิดค้นออกมาได้ รวมทั้งยังเป็นช่องทาง การสื่อสารหลักขนาดใหญ่ ที่ผู้คนในยุคนั้นใช้เชื่อมโยงเข้ากัน ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ การค้าขาย หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ของคนต่างชนชาติ ก็จะทำให้วงกว้างของระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตก็มีแต่จะเจริญเติบโตและคงจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของ อินเทอร์เน็ตก็คงจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อเข้า ถึง (Access) อย่างโมเด็ม (Modem) Modulation หรือเรียกอีกอย่างว่า Modem เป็นอุปกรณ์ที่ทีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้สามารถ รองรับการส่งสัญญาณข้อมูลที่เป็นทั้งภาพ และเสียงผ่านสายโทรศัพท ์พื้นฐานทั่วไป ซึ่งโดยปกติแล้วสายโทรศัพท์จะถูกออกแบบให้ สามารถส่งสัญญาณแบบ อนาล็อก หรือสัญญาณของเสียงเท่านั้น ดังนั้นโมเด็มก็เลยจะประกอบไปด้วยหน้าที่สำคัญ 3 ส่วนได้แก่ หนึ่งส่วนที่เปลี่ยนสัญญาณดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณ อนาล็อกเพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลต่างๆ ไปยังสายโทรศัพท์ได้ สองส่วนที่เปลี่ยนสัญญาณอนาล็อก ที่ถูกส่งกลับมาจากสายโทรศัพท์ให้เปลี่ยนเป็นสัญญาณ ดิจิตอล เพื่อนำไปใช้งานต่อไป และสามส่วนที่ดูแล และความคุมการทำงาน Digital Interface



 
Internal Modem





External Modem


ประเภทของโมเด็ม สำหรับการแบ่งประเภทของโมเด็มนั้นจะสามารถแยกออกมาได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ นั้นคือความเร็วในการส่งผ่าน ข้อมูล และรูปแบบการติดตั้งใช้งาน

สำหรับประเภทของความเร็วนั้น จะสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทได้แก่ โมเด็มความเร็วต่ำ ที่นับว่าเป็นโมเด็มรุ่นแรกๆ ที่ออกมาโดยจะมีความเร็ว ตั้งแต่ 300bps จนถึง 4,800bps ประเภทที่สอง โมเด็มความเร็วปาน กลาง โดยโมเด็มระดับนี้จะสามารถส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็ว 9,600bps ถึง 14,400bps พร้อมทั้งยังเพิ่มความสามารถในการใช้งานต่างๆ มากขึ้นด้วย และเป็นโมเด็มที่เริ่มมีการใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ พร้อมทั้งการรับส่ง ข้อมูล ในแบบ Full Duplex และ Half Duplex และสามโมเด็มความเร็วสูง สำหรับโมเด็มประเภทนี้จะมีอัตราการับส่งข้อมูลตั้งแต่ 19,200bps ถึง 28,800bps มีการใช้เทคนิคการผสมสัญญาณที่สลับซับซ้อนมากกว่า โมเด็ม ความเร็วปานกลาง และโมเด็มแบบที่สี่ซึ่งเป็นแบบที่กำลังนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นคือ โมเด็ม ความเร็วสูงพิเศษ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 56,000bps หรือ 56Kbps ซึ่งเป็นโมเด็มที่มีการส่งสัญญาณ ในแบบดิจิตอล ความเร็วสูง และโมเด็ม ประเภทนี้จะมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP เข้ามาเกี่ยวข้อง

สำหรับประเภทของรูปแบบการติดตั้งใช้งานนั้น จะมีอยู่ 3 ประเภท ประเภทแรกจะเป็นแบบInternal หรือแบบติดตั้งภายใน โมเด็มประเภทนี้ จะมีลักษณะเป็นการ์ด หรือแผงวงจร ที่จะติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ บริเวณสล็อต PCI ในปัจจุบัน ซึ่งข้อดีของโมเด็มลักษณะนี้ ก็ตรงที่จะประหยัด เนื้อที่ ภายนอก และมีราคาถูก แต่มักจะมีปัญหาตรงที่ติดตั้งใช้งานยุ่งยาก และตรวจดูสถานะการทำงานของโมเด็มได้ยาก แบบที่สองโมเด็มติดตั้ง ใช้งาน ภายนอก External ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ประกอบไปด้วยอแด็ปเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อกับไฟฟ้าภายในบ้านเอง โดยไม่ต้องใช้ไฟร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร ์เหมือนโมเด็มแบบติดตั้งภายใน ทำให้การทำงานของ เครื่อง คอมพิวเตอร ์เสถียรมากกว่า และผู้ใช้ยังสามารถสังเกตการทำงานของโมเด็มจากไฟ แสดงสถานะ บริเวณตัวเครื่องได้ง่ายกว่าด้วย โมเด็มแบบภายนอกสามารถแยกอินเทอร์เฟซ หรือพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้สองแบบ ได้แก่ อินเทอร์เฟซแบบ Serial โดยโมเด็มแบบนี้จะเชื่อมต่อระหว่างโมเด็มและเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้สาย RS-232 และจะมีอแด็ปเตอร์ที่คอยจ่ายไฟให้กับตัว โมเด็มด้วย ส่วนอินเทอร์เฟซแบบ USB ก็อย่างที่รู้ๆ อยู่ว่า อินเทอร์เฟซแบบ USB นั้นสามารถที่จะใช้ไฟจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง จึงไม่จำเป็นที่จะต้อง มีอแด็ปเตอร์ แบบที่สามโมเด็มแบบการ์ด PCMCIA สำหรับโมเด็มประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นการ์ดขนาดเล็ก ที่เมื่อเวลาจะ ใช้งาน จะต้องเสียบเข้ากับสล็อต PCMCIA ที่ปกติจะมีบนเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุก และโมเด็มประเภทนี้จะมีราคาที่สูงมากกว่าโมเด็ม Internal และ External

มาตรฐานโมเด็ม
สำหรับมาตรฐานของโมเด็มนั้น จะถูกกำหนดมาโดย International Telecommunication Union หรือที่รู้จักกันดี ITU ซึ่งหน่วยนี้จะเป็น หน่วยงานที่องค์การสหประชาชาติตั้งขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถใหม่ให้กับโมเด็ม สำหรับมาตรฐานใหม่และในปัจจุบันก็เป็นที่นิยมกันอย่างมากก็คือมาตรฐาน V.90 ที่มีความรวดเร็วในการเชื่อมต่อที่ 56Kbps แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการกำหนดมาตรฐานใหม่ล่าสุดเป็น V.92เพื่อเพิ่มความสามารถของโมเด็มให้ดีมากยิ่ง ขึ้น โดยความสามารถใหม่นั้นจะมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันนั้นคือ Quick Connect, Modem on Hold และ PCM Upstream

Quick Connect
มีรูปแบบเพื่อให้สามารถทำการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ISP ได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม 50 เปอร์เซ็นต์

PCM Upstream
ช่วยให้การอัพโหลดข้อมูลต่างๆ ทำได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 48,000bps โดยที่มาตรฐาน V.90 เดิมทำได้เพียงแค่ 33,600bps

Modem on Hold
ท่านเคยสังเกตไหมครับว่าเวลาใช้งานอินเทอร์เน็ต แล้วถ้ามีสายโทรศัพท์เรียกเข้าในระหว่างใช้อินเทอร์เน็ต สายมักจะชอบ หลุด แต่ด้วยเทคโนโลยีนี้จะทำให้ท่านสามารถรับโทรศัพท ์เมื่อมีสายเรียก เข้า โดยที่ไม่ต้องออกจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่ท่านจะต้องขอใช้บริการรับ สายเรียกซ้อนจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่ท่านใช้ และทาง ISP จะต้องเปิดให้บริการมาตรฐาน V.92 ด้วย

นอกจากโมเด็มในแบบอนาล็อกที่มีการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็ว 56K ที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับคออินเทอร์เน็ตราคาถูก (ผมด้วย อิ..อิ) ปัจจุบันก็สามารถพัฒนาให้สามารถส่งผ่านข้อมูลในแบบดิจิตอลโดยตรง เพื่อให้การส่งผ่านข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดข้อมูล (downstream) หรืออัพ โหลดข้อมูล (upstream) ทำได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม พร้อมกับรองรับการประชุมทางไกลทั้งภาพ และเสียง( VDO Conference) ที่กำลังนิยมใช้งานกัน ตามบริษัทด้วย สำหรับโมเด็มที่ออกมารองรับการใช้งานดังกล่าวนั้นก็จะมีออกมาใช้อยู่ 3 แบบ ได้แก่ Cable Modem, ISDN Modem และที่กำลังร้อนแรง ในขณะนี้ ADSL Modem









Cable Modem


Cable Modem
จะใช้การส่งสัญญาณข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายต่างๆ โดยใช้สายนำสัญญาณ เช่น สายเคเบิลใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic ) และสายโคแอคเชียล มาทำงานร่วมกันโดยจะเรียกระบบนี้ว่า HFC หรือ Hybrid Fiber Coaxial Network ความสามารถของเคเบิลโมเด็มก็จะมีตั้งแต่ สามารถดาวน์โหลด ข้อมูลได้สูงสุดถึง 10Mbps และอัพโหลดข้อมูลได้สูงสุดถึง 2Mbps และไม่มีปัญหาของสายหลุดในระหว่างการใช้งานเพราะ Cable Modem จะเป็นการ เชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา แต่ค่อนข้างจะมีพื้นที่ให้บริการที่จำกัดไม่ค่อยจะทั่วถึงถ้าเกิดมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้นก็จะทำให้ความเร็วลดลง และไม่มีค่อยความปลอดภัย ของข้อมูลในระหว่างการใช้งานด้วย






ISDN Modem


ISDN Modem
หรือ Integrated Services Digital Network ได้รับการพัฒนาเพื่อมารองรับการส่งผ่านข้อมูลประเภทภาพ และเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล, video streaming, Video Conference สามารถสนับสนุนความเร็วได้ตั้งแต่ 57.6Kbps - 128Kbps ซึ่งรูปแบบที่ให้บริการ สำหรับ ISDN นั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ

ประเภทแรก Basic Access Interface หรือ BRI การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับผู้ใช้ในทุกๆ ระดับ ตั้งแต่ผู้ใช้ตามบ้านจนไปถึงองค์กรธุรกิจ ขนาดใหญ่ โดยสายสัญญาณที่นำมาใช้ก็จะเป็นสาย โทรศัพท์ธรรมดา ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่างชุมสายของผู้ใช้บริการ และผู้ใช้ ISDN และ ISDN จะใช้ช่องสัญญาณทั้งหมด 2 ช่องโดยแต่ละช่องจะสามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงสุดที่ 64Kbps ฉะนั้นจึงรวมเป็น 128Kbps

ประเภทที่สอง Primary Rate Interface หรือ PRI ส่วนแบบนี้จะเหมาะกับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการช่องสัญญาณขนาดใหญ่เพื่อรอง รับกับข้อมูลจำนวนมาก ๆ ส่วนสายสัญญาณที่ใช้นั้นจะมีอยู่ 2 แบบ โดยแบบแรกนั้นจะใช้สาย Fiber Optic ซึ่งผู้ให้บริการมักจะติดตั้งสายประเภทนี้ไว้ตาม สถานที่สำคัญทางธุรกิจ เพราะความสามารถจากสาย Fiber Optic ที่สามารถรักษาความปลอดภัยในระหว่างการส่งผ่านข้อมูลได้มากกว่า สำหรับสายแบบ ที่สองนั้น ก็จะใช้กับพื้นที่บริการที่ไม่สามารถวางสาย Fiber Optic ได้ โดยจะใช้เป็นสายโทรศัพท์ หรือสายทองแดงแทน แต่จะติดตั้งอุปกรณ์ HDSL ISDN รูปแบบนี้จะมีจำนวนของช่องสัญญาณถึง 30 ช่อง โดยในแต่ละช่องก็จะมีขนาดความกว้างของช่องสัญญาณเหมือนกับประเภท BRI คือ 64Kbps ฉะนั้นเมื่อ รวมทั้งหมดก็จะได้ขนาดของช่องสัญญาณที่ส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2.048Mbps หรือประมาณ 2Mbps








ADSL Modem

Wireless ADSL Modem



ADSL Modem
หรือ Asymmetric Digital Subscriber Line การเชื่อมต่อในแบบ ADSL นับเป็นนวัตกรรมการส่งข้อมูลสายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นที่นิยมมาก ที่สุด โดยจะมีอัตราในการส่งข้อมูล ดาวน์โหลด สูงสุดที่ 8Mbps และอัพโหลดข้อมูลที่ 1Mbps เทคโนโลยีนี้ยังมีความสามารถในการแบ่ง รหัสสัญญาณข้อ มูลเสียงโดยการแยกความถี่ของเสียงที่มีความถี่ไม่เกิน 4KHz ออกจากความถี่ของสัญญาณข้อมูลที่มีความถี่ตั้งแต่ 2MHz โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ในการแบ่ง ความถี่นี้จำเป็นที่จะต้องนำมาติดตั้งร่วมกับ ADSL โมเด็ม อุปกรณ์ที่ว่านี้เรียกว่า Pots Splitter ซึ่งจะติดตั้งอยู่ทั้งชุมสายโทรศัพท์และผู้ใช้ ดังนั้นผู้ใช้จึง สามารถใช้โทรศัพท ์ร่วมกันได ้ใน ระหว่างที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต Pots Splitter จะมีลักษณะคล้ายกับเต้าเสียบโทรศัพท์ตามบ้านทั่วๆไปที่จะมีพอร์ต คอนเน็ก เตอร์หัว RJ-11อยู่ 2 ช่อง โดยจะมีช่องหนึ่งไว้ให้สำหรับเสียบเข้ากับโมเด็ม และช่องที่เหลืออีกช่องเอา ไว้ให้สำหรับเสียบเข้ากับเครื่องโทรศัพท์

อะไรที่ทำให้คออินเทอร์เน็ตทั้งหลายในปัจจุบันจึงนิยมติดตั้งใช้งานอินเทอร์เน็ตในแบบ ADSL อย่างแรกก็คือความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อ ผู้ใช้สามารถที่ Access ใช้งานทันท ีโดยที่ไม่ต้องหมุนโทรศัพท์เหมือนโมเด็ม ISDN เพราะ ADSLจะทำการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา (Always-On-Access) สายสัญญาณ ADSL ยังเป็นอิสระในการใช้งานโดยที่ไม่ได้ไปแชร์สายสัญญาณเหมือน Cable Modem นั้นผู้ใช้จึงมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย ได้








อินเทอร์เฟซต่างๆด้านหลัง ADSL Modem












Port Splitter อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแยกสัญญาณความถี่


ประเภท และแนวทางในการเลือกซื้อ ADSL โมเด็ม
สำหรับ ADSL โมเด็มจะมีให้เลือกใช้อยู่ 2 ประเภทเหมือนกับโมเด็มในแบบอนาล็อก คือ แบบที่ติดตั้งใช้งานภายใน และแบบที่ติดตั้งใช้งานภายนอก

แบบที่ติดตั้งใช้งานภายใน โมเด็มแบบนี้จะติดตั้งกับสล็อต PCI ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งลักษณะที่เหมือนกับโมเด็มอนาล็อกทั่วๆไป แบบนี้จะ เหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการประหยัดเนื้อที่การทำงานภายนอก และประหยัดค่าใช้จ่าย

แบบที่ติดตั้งใช้งานภายนอก ADSL โมเด็มแบบนี้จะมีอินเทอร์เฟซอยู่ 2 แบบ คือ แบบแรกนั้นจะเป็นอินเทอร์เฟซ USB ส่วนแบบที่สองจะเป็น อินเทอร์เฟซแบบ RJ-45 หรือพอร์ตแลน ซึ่งโมเด็มทั้งสองแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป อย่างเช่นแบบ USB จะติดตั้งใช้งานได้ง่าย มีราคาถูก แต่ถ้าต้องการจะแชร์เพื่อให้เครื่องอื่นๆ ได้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยจะทำได้อยากเพราะโมเด็มแบบ USB ไม่ได้ทำการติดตั้งพอร์ต RJ-45 มาให้ไว้เชื่อมต่อระบบ แลน แต่ถ้านำไปใช้เชื่อมต่อเพียงแค่เครื่องเดียวก็น่าจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าที่จะนำ ADSL โมเด็มที่สนับสนุนอินเทอร์เฟซ RJ-45 มาติดตั้งใช้งาน ปัจจุบันความนิยมใช้ ADSL โมเด็มเริ่มลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ใช้ตามองค์กร หรือบริษัทที่ต้องการความปลอดภัยข้อมูลมักจะนิยมเอา ADSL เราท์เตอร์มาใช้ งานแทนกันมากขึ้น ก่อนที่ ADSL เราท์เตอร์ ยังไม่ได้มีการพัฒนานำออกมาใช้นั้น ผู้ใช้พวกนี้ส่วนมากจะเชื่อมต่อเราท์เตอร์กับโมเด็มเข้าด้วยกันเพื่อกลั่นกรอง ข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะมีการส่งผ่านเข้ามาในระบบภายใน เพื่อป้องกันภัยอันตรายต่างๆ จากภายนอกส่งผ่านเข้ามาทางอินเทอร์เน็ต ADSL เราท์เตอร์นั้นค่อนข้าง จะมีราคาที่สูงกว่า ADSL โมเด็มอยู่มาก เพราะจากอินเทอร์เฟซ RJ-45 ที่สามารถติดตั้งมาให้ได้มากกว่าสูงสุดถึง 4 พอร์ต แถมบ้างตัวยังสนับสนุน Auto-Uplink ที่จะเชื่อมต่อไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เราท์เตอร์ ฮับ สวิทซ์ จากพอร์ตใดก็ได้ สังคมระบบเครือข่ายไร้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และก็เริ่มจะมีความ นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ดังนั้น ADSL เราท์เตอร์ในปัจจุบันจึงถูกพัฒนาให้สามารถทำงานแบบไร้สายได้ด้วย พร้อมที่ยังรองรับการเชื่อมต่อแบบอีเทอร์เน็ต ใช้สายแบบเดิมด้วย โดยจะมีมาตรฐานไร้สายที่รองรับการใช้งาน IEEE 802.11b ที่เป็นมาตรฐานเดิม และเป็นที่นิยมใช้งานกันมากในบ้านเรา และ IEEE 802.11g ที่เป็นมาตรฐานไร้สายใหม่ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ซึ่งการทำงานของทั้งสองแบบจะทำงานความถี่ 2.4GHz สำหรับราคาแบบไร้สายนี้จะ สูงมากดังนั้นถ้าไม่จำเป็นที่จะใช้งานจริงๆ ก็น่าจะหันไปเล่นแบบแบบใช้สายก่อนก็จะประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากครับ


มาตรฐานของโมเด็ม


มาตรฐานโมเด็มแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ


1. มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่โมเด็มใช้
2. มาตรฐานในส่วนของซอฟต์แวร์ซึ่งควบคุมการทำงานของโมเด็ม หรือคำสั่งของโมเด็ม

2. มาตรฐานในส่วนของซอฟต์แวร์ซึ่งควบคุมการทำงานของโมเด็ม หรือคำสั่งของโมเด็ม


มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม
มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม กำหนดขึ้นโดยองค์การมาตรฐานสื่อสากล หรือ CCITT(International Telephone and Telephone and Telegraph Consultative Committee) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น ITUT (International Telephone and Telegraph Consultative Committee) โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความเร็วในการรับส่งข้อมูล ความถี่ที่ใช้ และเทคนิค การผสมสัญญาณในสาย เป็นต้น หน่วยงาน ITU-T มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการสื่อสารและรับส่งข้อมูล ผู้ผลิตรายใหญ่ทั่วโลกจึงปฏิบัติตามมาตรฐานของ CCITT หรือ ITU-T ทำให้โมเด็มซึ่งมียี่ห้อแตกต่างกันสามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม ประกอบด้วย
1. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
2. การผสมสัญญาณแบบ FSK, PSK


ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มเรียกว่า บิตต่อวินาที (bit per second, bps) หรือ Bit Bate ส่วนอัตราในการส่งข้อมูลเป็นการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณไฟฟ้าในสายส่งเรียกว่า Baud Rat ส่วนเดิมการรับส่งข้อมูลจะใช้เทคนิคการผสมสัญญาณแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนเช่น การเปลี่ยนแปลงความถี่ของข้อมูลจาก 0 และ 1 อัตราการส่งข้อมูลและอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายส่งจึงมีค่าเท่ากันหรือสัญญาณรูปคลื่น 1 ลูกจะแทนข้อมูล 1 บิต ดังนั้นอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายส่ง (Baud Rate) จึงเป็นอัตราในการส่งข้อมูล ต่อมาเทคนิคการผสมสัญญาณมีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สื่อสารกันได้ดีขึ้นแม้จะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายยังเท่าเดิม เช่น โมเด็มรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1,200 Band เราจะไม่ทราบว่าโมเด็มมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้กี่บิตต่อวินาที เนื่องจากถ้าโมเด็มผสมสัญญาณ 1 บิตต่อหนึ่งลูกคลื่น โมเด็มจะรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1,200 บิตต่อวินาที หรือถ้าโมเด็มผสมสัญญาณ 4 บิตต่อหนึ่งลูกคลื่นที่เปลี่ยนแปลงในสายส่ง โมเด็มจะรับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 4,800 บิตต่อวินาที โดยยังมีอัตราการเปลี่ยนแปลงในสายส่งเท่ากัน 1,200 Band เหมือนเดิม เราจึงเลิกใช้คำว่า Band Rate เพื่อบอกความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มและใช้คำว่า Bit Rate หรืออัตราการส่งข้อมูลเป็นบิตต่อวินาทีแทน


การผสมสัญญาณแบบ FSK, PSK
มาตรฐานการผสมสัญญาณที่ใช้มากในปัจจุบันคือ Frequency Shift Keying(FSK), Phase Shift Keying(PSK) และ Quadrature Amplitude Modulation(QAM) Frequency Shift Keying โมเด็มความเร็วต่ำ โดยแทนสัญญาณด้วย 0 และ 1 ด้วยความถี่ต่างกัน ฝ่ายส่งจะใช้ความถี่สองความถี่ แทน 0 และ 1 ส่วนฝ่ายรับใช้ความถี่อีกสองความถี่แทน 0 และ 1 ทั้งสองฝ่ายจึงใช้ความถี่รวมสี่ความถี่ การผสมสัญญาณแบบ FSK มักใช้กับโมเด็มมีความเร็วประมาณ 300 ถึง 600 บิตต่อวินาที และใช้กับโมเด็มแบบ Acoustic Coupler ความเร็วสูงสุดของโมเด็มที่ใช้เทคนิคในการผสมสัญญาณจะอยู่ที่ 1,200 บิตต่อวินาที ปกติโมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้การผสมสัญญาณแบบ FSK จะรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 300 บิตต่อวินาที การผสมสัญญาณแบบ FSK นี้จะได้อัตราการส่งข้อมูล (Bit Rate) จะเท่ากับ Baud Rate เสมอ
การผสมสัญญาณแบบ Phase Shift Keying (PSK) นั้นใช้หลักการแทนข้อมูล 0 และ 1 เป็นการแปลงสัญญาณของสายส่ง(Phase) เช่น อาจกำหนด 0แทนด้วยองศาหรือมุมของคลื่นให้มีความต่อเนื่องกันไป ส่วน 1 แทนที่มุมจากเดิม 180 องศา Quadrature Amplitude Modulation (QAM) คือการผสมสัญญาณการแปลง Phase และขนาดของสัญญาณพร้อมกัน เทคนิคของโมเด็มความเร็วสูง ซึ่งถ้าใช้ Phase อย่างเดียว มุมที่เปลี่ยนจะมีค่าน้อยไม่เพียงพอทำให้มีความผิดพลาดได้ ถ้าใช้การเปลี่ยน Phase และขนาดของสัญญาณประกอบด้วยจะทำให้วงจรด้านรับแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาณของข้อมูลได้ชัดเจน


สมัยแรก ๆ โมเด็มที่มีใช้งาน จะมีความเร็วแค่เพียง 1,200 bps เท่านั้น และได้มีการพัฒนาความเร็วให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน ความเร็วของโมเด็มจะอยู่ที่ 56Kbps มาตราฐานของโมเด็มแต่ละรุ่นตามตารางต่อไปนี้

มาตรฐาน

มาตราฐาน
Baud Rate
Bit Rate
V.32 bis
2,400
7,200/9,600/12.000/14,400
V.fast, V.FC
2,400
28,800
V.34
2,400
28,800
V.34+
2,400
33,600
X2
2,400
57,600
K56 Flex
2,400
57,600
V.90
2,400
57,600

Baud Rate คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของลูกคลื่นสัญญาณ โดยมากจะมีค่าเป็น 2,400
Bit Rate คืออัตราการส่งข้อมูล ที่สามารถรับส่งได้จริง


ในส่วนของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6Kbps หรือที่เห็นเป็น 56Kbps นั้น ความจริงแล้วจะมีอัตราการรับข้อมูลได้สูงสุด ไม่เกิน 53Kbpsและสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดเพียงแค่ประมาณ 33.6Kbps เท่านั้น ลองนึกภาพการเอาโมเด็มแบบ 56Kbps 2 ตัวมาต่อกันโดยตรง จะเห็นว่าถ้าหากอัตราการส่งข้อมูล จะได้ไม่เกิน 33.6Kbps หมายความว่า เราจะสามารถต่อโมเด็ม 2 ตัวด้วยกันตรง ๆ ได้ความเร็วไม่เกิน 33.6Kbps นะครับ หลายท่านคงจะงง ว่าแล้วที่เห็นความเร็วได้สูงกว่านั้นล่ะ คืออะไร คำตอบก็คือระบบ โมเด็มที่ ISP ส่วนใหญ่ใช้งานกันในการให้บริการด้วยความเร็ว56Kbps จะเป็นการต่อโดยตรง เข้ากับชุมสายโทรศัพท์แบบดิจิตอล จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด 53Kbps ได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพ ของคู่สายและองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย)

นอกจากนี้ หากการเชื่อมต่อโมเด็มในแบบ 56Kbps โดยมีการต่อผ่านระบบ PABX หรือระบบโทรศัพท์ตู้สาขาต่าง ๆ (เช่น ตามหอพักหรือโรงแรม) จะสามารถเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 33.6Kbps เท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่า ระบบ PABX จะมีการลดทอนระดับสัญญาณต่าง ๆ ลงไปอีก หากต้องการต่อใช้งานให้ได้ความเร็วใกล้เคียงกับ 56Kbps ก็ต้องต่อโดยใช้ สายโทรศัพท์ที่เป็นสายตรงจากชุมสายโทรศัพท์เท่านั้น

มาตราฐานของ X2, K56Flex และ V.90
ครั้งแรกที่มีการคิดมาตราฐานของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6Kbps หรือที่เรียกว่า 56Kbps จะมีอยู่ 2 มาตราฐานที่เกิดขึ้นมาก่อน แต่ไม่สามารถใช้งานด้วยกันได้ นั่นคือ X2 และ 56K Flex ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโมเด็ม ของทั้งสองมาตราฐานนี้ จะต้องใช้งานกับ ISP ที่รองรับระบบนั้น ๆ เท่านั้น ต่อมา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ และการทำให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน จึงได้มีมาตราฐาน V.90 เกิดขึ้นสำหรับการใช้งานในความเร็ว56Kbps ซึ่งโมเด็มหลาย ๆ ยี่ห้อก็จะมีความสามารถ upgrade จากระบบเดิมให้เป็นแบบ V.90 ได้ด้วย ดังนั้นหากจะเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งานในปัจจุบัน ควรเลือกยี่ห้อหรือรุ่นที่รองรับมาตราฐาน V.90 ไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการใช้งาน
มาตรฐานในส่วนของซอฟต์แวร์
โมเด็มจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งข้อมูล ขณะที่โมเด็มไม่ได้ติดต่อกับปลายทางเพื่อส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะสามารถส่งคำสั่งต่างๆให้โมเด็มได้โดยไม่รบกวนการส่งข้อมูล เมื่อเปิดสวิทช์ให้โมเด็มทำงาน สัญญาณที่โมเด็มได้รับจากคอมพิวเตอร์เป็นคำสั่ง เมื่อติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางได้ โมเด็มจะส่งข้อมูล จนกว่าจะเลิกติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางหรือวางสายโทรศัพท์ โมเด็มจึงกลับมาอยู่ในภาวะที่รับคำสั่งจากคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง
บริษัท Hayes Microcomputers Products Inc. ผลิตชุดคำสั่งเพื่อสั่งงานโมเด็มใช้กับเครื่องพีซี ได้รับความนิยมถือเป็นมาตรฐานหนึ่ง คือคำสั่งการทำงานของโมเด็มโดยใช้ซอฟต์แวร์สั่งจากคอมพิวเตอร์ไปโมเด็มโดยตรง การใช้จึงมีความสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องปรับสวิทช์ในการเลือกการทำงานแบบต่างๆของโมเด็ม คำสั่งนี้เป็นคำสั่งมาตรฐานของ Hayes ภาษาไทยอ่านว่า เฮยส์


หน้าที่ของคำสั่งโมเด็มคือ การควบคุมการทำงานที่จำเป็นของโมเด็ม อาทิ ต่อสายโทรศัพท์หรือวางสายโทรศัพท์ รีเซ็ทโมเด็ม สั่งโมเด็มหมุนโทรศัพท์ตามเบอร์ที่ติดต่อ ปรับพารามิเตอร์ต่างๆของโมเด็ม ตอบรับสัญญาณโทรศัพท์ที่เรียกเข้ามา เลือกให้ทำงานแบบ Echo on หรือ Echo off เป็นต้น


ข้อดีของคำสั่งโมเด็มคือ
เดิมการใช้งานโมเด็มก่อนมีคำสั่งโมเด็มหรือโมเด็มในยุคแรกต้องใช้คนในการหมุนโทรศัพท์ติดต่อเพื่อส่งข้อมูลไปจนกว่าฝ่ายรับจะรับโทรศัพท์โมเด็มมีหน้าที่เพียงรับส่งสัญญาณและเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่ได้รับมาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้งานโมเด็มจึงไม่สะดวก ผู้ใช้งานโมเด็มจึงต้องมีความเข้าใจการทำงานของโมเด็มอย่างดีจึงจะใช้งานได้ และต้องมีการปรับฟังก์ชันการทำงานในด้านต่างๆส่วนใหญ่จะใช้การผลักสวิทช์เล็กๆ(DIP Switch) ต่อมาคำสั่งโมเด็มได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยการทำงานโมเด็มให้มีความสะดวกขึ้นตามหน้าที่ของโมเด็มดังกล่าวข้างต้น และโมเด็มเป็นคำสั่งติดต่อมีความสามารถปรับตัวแปรต่างๆของโมเด็มให้ใช้งานได้ตามความต้องการ ซึ่งผู้ใช้โมเด็มไม่ต้องรู้เรื่องรายละเอียดของโมเด็ม โดยโปรแกรมจะติดต่อส่งข้อมูล การใช้งานโมเด็มจึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้


คอมพิวเตอร์สั่งงานโมเด็มโดยใช้ Hayes Command (AT command)
1. โมเด็มต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ โมเด็มพร้อมรับคำสั่งจากคอมพิวเตอร์
2. คอมพิวเตอร์สั่งให้โมเด็มทำงานตามคำสั่ง
3. โมเด็มทำงานตามคำสั่ง
การทำงานของโมเด็มจะเก็บคำสั่งต่างๆไว้เป็นหน่วยความจำพิเศษ โดยเก็บไว้ภายในโมเด็ม โมเด็มที่ใช้คำสั่งของ Hayes คือความจำส่วน S-Register มาตรฐานคำสั่งโมเด็มของ Hayes


Hayes Command หรือ AT Command คือคำสั่งการใช้งานโมเด็มดังกล่าวข้างต้น คำสั่งทุกคำสั่งจะขึ้นต้นด้วย AT เมื่อจบคำสั่งปิดท้ายด้วยรหัส ASCII ตัวที่ 13 คือ Carriage Return หรือกด Enter โมเด็มจะรับคำสั่งไปทำงานทันที และตอบ OK บางคำสั่งมีรหัสหรือตัวเลขต่อท้ายเพื่อระบุวิธีการทำงาน เช่น ATB อาจตามด้วย 0 หรือ 1 คำสั่งจริงอาจเป็น ATBO หรือ ATB1 ก็ได้ บางคำสั่งตามด้วยข้อมูลเช่น ATDT2730037 คือคำสั่งATDT คำสั่งให้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หมายเลข 2730037 เป็นต้น คำสั่งเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z





















7. ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้งาน



- Copyright © ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น - Date A Live - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -