Popular Post

Posted by : Love For You วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผลมีชื่อในภาษาอังกฤษหลายคำ รวมถึง video card, display card, graphic adaptor, graphics card, video card, video board, video display board, display adapter, video adapter

การทำงาน
การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง(CPU) ได้มาก
ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ
เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว

ผู้ผลิตการ์ดแสดงผล
AMD หรือที่ใช้ชื่อว่า ATI Raedon ผลิตการ์ดแสดงผล (Expansions card)เป็นคู่แข่งกับบริษัท Nvidia
ทาง Nvidia มีจุดเด่นที่ส่วนประมวลผล PhysX ซึ่งจะประมวลผลทางฟิสิกส์ เช่นไอน้ำ กระดาษปลิว กระจกแตก ล้อรถหลุดและกลิ้งไปตามถนนล้มลง มีระบบ Surround ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3 จอแบบเชื่อมต่อกันแต่ต้องใช้การ์ดสองตัวขึ้นไปหรือการ์ดที่มี GPU คู่ และมีระบบ 3DVision ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้
ส่วน AMD มีจุดเด่นที่ระบบ Eyefinity ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3-6 จอแบบเชื่อมต่อกันโดยใช้การ์ดใบเดียว และมีระบบ HD3D ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้เช่นเดียวกับ Nvidia แต่ใช้ระบบที่ไม่ซับซ้อนเท่า

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

- Copyright © ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น - Date A Live - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -