การ์ดเสียง ทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณสามารถเล่นเพลงและเสียงต่างๆ ผ่านลำโพงได้
คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่แทบทั้งหมดจะมาพร้อมกับการ์ดเสียงที่มีอยู่แล้วภายใน อย่างไรก็ตาม
ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณไม่ได้ติดตั้งการ์ดเสียงไว้ หรือถ้าคุณต้องการปรับรุ่นความสามารถ
ในการเล่นเสียงหรือการบันทึกของคอมพิวเตอร์ คุณอาจต้องติดตั้งการ์ดเสียง
การ์ดเสียงมีสามชนิดด้วยกันคือ การ์ดเสียงที่มีอยู่แล้วภายในแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์
และการ์ดเสียงภายในและภายนอก บทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่การติดตั้งการ์ดเสียงภายใน
ซึ่งใส่กับช่องเสียบแผงวงจรส่วนขยายภายในคอมพิวเตอร์ของคุณ
คุณไม่สามารถเอาการ์ดเสียงของแผงวงจรหลักออกได้ แม้ว่าโดยทั่วไปคุณจะสามารถติดตั้ง
การ์ดเสียงภายในหรือภายนอก และปิดใช้งานการ์ดเสียงของแผงวงจรหลักได้ก็ตาม
โดยทั่วไปการ์ดเสียงภายนอกจะเชื่อมต่อผ่านขั้วต่อ Universal Serial Bus (USB)
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งการ์ดเสียงภายนอกและอุปกรณ์ USB อื่นๆ ให้ดูที่
การติดตั้งอุปกรณ์ USB
ก่อนที่จะติดตั้งการ์ดเสียง ควรตรวจสอบว่าได้ศึกษาเอกสารที่ให้มาพร้อมกับอุปกรณ์แล้ว
แนวทางที่ปรากฏอยู่ที่นี่เป็นข้อมูลโดยทั่วไป และเอกสารประกอบการ์ดเสียงอาจมีข้อมูลสำคัญ
สำหรับการติดตั้งการ์ดเสียงโดยเฉพาะ นอกจากนี้ คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ศึกษาเอกสาร
ที่ให้มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าการเปิดคอมพิวเตอร์ส่งผลต่อการรับประกันของ
คอมพิวเตอร์หรือไม่
ก่อนที่จะติดตั้งการ์ดเสียง คุณจำเป็นต้องมีสิ่งต่อไปนี้
การ์ดเสียงที่คุณต้องการติดตั้ง
ไขควง Phillips สำหรับเปิดคอมพิวเตอร์ ถ้าจำเป็น
ซีดี ดีวีดี หรือสื่้อที่ให้มาพร้อมกับการ์ดเสียง (ถ้ามี) ซึ่งจะมี โปรแกรมควบคุม และโปรแกรมอื่นๆ
เมื่อต้องการเปิดเคสคอมพิวเตอร์
ให้ปิดคอมพิวเตอร์และถอดสายออกจากแหล่งจ่ายไฟ สิ่งสำคัญมากก็คือ เมื่อติดตั้งการ์ด
ในคอมพิวเตอร์ที่ต่อสายอยู่อาจทำให้การ์ดและคอมพิวตอร์เสียหาย และอาจทำให้คุณช็อคได้
เช่นกัน
เปิดเคสคอมพิวเตอร์ ดูที่ฝาครอบคอมพิวเตอร์ (โดยทั่วไปจะอยู่ที่ด้านหลัง) เพื่อหาสกรู
หรือตัวยึดที่จะถอด โดยทั่วไปเอกสารประกอบสำหรับคอมพิวเตอร์จะมีคำแนะนำเกี่ยวกับ
วิธีการเปิดเคส
เมื่อเปิดเคสคอมพิวเตอร์ ให้ต่อสายดินโดยการสัมผัสแหล่งจ่ายไฟ
(ตัวเรือนโลหะที่ล้อมรอบเต้ารับซึ่งสายไฟเสียบอยู่)
ซึ่งจะช่วยป้องกันการ์ดใหม่และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่จากไฟฟ้าสถิต
เมื่อต้องการเอาการ์ดเสียงที่มีอยู่ออก
ถ้าคุณมีการ์ดเสียงภายใน คุณควรเอาการ์ดออกก่อนที่จะติดตั้งการ์ดใหม่
ถ้าการ์ดเสียงของคอมพิวเตอร์มีอยู่แล้วภายในแผงวงจรหลัก
คุณสามารถดำเนินการต่อใน "เมื่อต้องการติดตั้งการ์ดเสียงใหม่"
ค้นหาการ์ดเสียงของคุณ ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าการ์ดใดเป็นการ์ดเสียง
ให้ดูตามสายไฟจากลำโพงไปทางด้านหลังของการ์ด
แล้วบันทึกว่าช่องเสียบใดที่การ์ดติดตั้งอยู่
ถอดสายลำโพงและไมโครโฟนออกจากด้านหลังของการ์ดเสียง
ถ้ามีสายเคเบิลภายในคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อการ์ดเสียงกับซีดีรอมไดรฟ์
ให้ถอดสายออก คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จำนวนมากไม่มีสายเคเบิลนี้
ถ้าไม่มีสายเคเบิลอยู่ คุณสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้
เอาสกรูที่ยึดการ์ดเสียงออก
ค่อยๆ ดึงการ์ดเสียงออกจากช่องเสียบตรงๆ ระวังอย่าบิดหรืองอการ์ดเมื่อคุณเอาออก
ถ้าคุณไม่ได้ติดตั้งการ์ดเสียงใหม่ ให้ติดตั้งฝาครอบช่องเสียบถ้ามี
แล้วใส่สกรูกลับเข้าที่เดิม จากนั้นให้ปิดเคสคอมพิวเตอร์
แล้วใส่สกรูที่ถอดออกเมื่อเปิดเคสกลับเข้าที่เดิม
เมื่อต้องการติดตั้งการ์ดเสียงใหม่
ค้นหาช่องเสียบแผงวงจรส่วนขยายในคอมพิวเตอร์ซึ่งจะรับการ์ดเสียงใหม่ของคุณ
ถ้าคุณเอาการ์ดเสียงที่มีอยู่ออก คุณสามารถใช้ช่องเสียบเดิมได้ถ้า
การ์ดใหม่ใช้ช่องเสียบแผงวงจรส่วนขยายชนิดเดียวกัน
ตรวจสอบเอกสารประกอบคอมพิวเตอร์ของคุณ
ถ้าคุณต้องดูชนิดของช่องเสียบแผงวงจรส่วนขยาย
ค่อยๆ วางการ์ดเสียงลงบนช่องเสียบ วางสลักบนการ์ดเสียงลงในช่องเสียบตามแนว
แล้วดันการ์ดเข้าไปในช่องเสียบ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการ์ดติดตั้งอยู่ในช่องเสียบแน่นสนิทดีแล้ว
และดันเข้าไปจนสุด
ถ้าสลักบนการ์ดไม่ได้เรียงเข้ากับสลักในช่องครบทั้งหมด การ์ดอาจทำงานไม่ถูกต้อง
ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณมีสายสัญญาณเสียงที่เชื่อมต่อไดรฟ์ซีดีรอมกับการ์ดเสียงโดยตรง
ให้ค้นหาสายและต่อเข้ากับการ์ด ศึกษาเอกสารประกอบที่ให้มาพร้อมกับการ์ดเสียง
เพื่อดูตำแหน่งของขั้วต่อสัญญาณเสียงซีดีรอมบนการ์ด
โปรดสังเกตว่าสายเคเบิลแทบไม่จำเป็นต้องใช้กับฮาร์ดแวร์เสียงที่มีอยู่ปัจจุบัน
และในหลายกรณีการเสียบสายจะเป็นทางเลือก
ขันสกรูการ์ดเสียงเข้ากับเฟรม อย่างอการ์ดเสียงหรือเฟรมในขณะขันสกรู
ขันสกรูให้แน่นกว่าที่คุณขันด้วยมือเล็กน้อย ดีกว่าที่จะขันจนทำให้เฟรมหรือการ์ดโค้งงอ
ปิดเคสคอมพิวเตอร์ แล้วใส่สกรูที่ถอดออกเมื่อเปิดเคสกลับเข้าที่เดิม
ต่อสายลำโพง และไมโครโฟนถ้ามีอยู่ เข้ากับการ์ดเสียงใหม่
ต่อสายคอมพิวเตอร์กลับเข้าที่แหล่งจ่ายไฟและเปิดเครื่อง
Windows จะติดตั้งโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการ์ดเสียงใหม่ของคุณ
หากการ์ดเสียงของคุณมาพร้อมกับแผ่นดิสก์ที่มีซอฟต์แวร์อยู่ ให้ติดตั้งทันที
ตรวจสอบข้อมูลที่มาพร้อมกับการ์ดเสียงของคุณ เพื่อดูว่าต้องใช้ขั้นตอนการติดตั้งซอฟต์แวร์ใด
หาก Windows ไม่รู้จักการ์ดเสียงของคุณ และคุณไม่มีโปรแกรมควบคุม
ที่ให้มาพร้อมกับการ์ดเสียงของคุณ คุณต้องหาโปรแกรมควบคุมด้วยตนเอง
(โปรแกรมควบคุมจะเปิดใช้งานWindows เพื่อจดจำอุปกรณ์ของคุณ)
เข้าไปที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตการ์ดเสียงของคุณ
และตรวจสอบส่วนสนับสนุนเพื่อหาโปรแกรมควบคุมที่คุณสามารถดาวน์โหลดได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูที่ การแก้ไขปัญหาด้านเสียง และ การแก้ไขปัญหาโปรแกรมควบคุม
|
ในการเลือกซื้อ Sound Card ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้
1. การพิจารณาเทคโนโลยี ที่สนับสนุน เนื่องจากมาตรฐาน ของเทคโนโลยี ทางด้านการ
สังเคราะห์ เสียง ได้พัฒนา ไปจากแต่เดิม ซึ่งปัจจุบัน เน้นมาให้ ความสำคัญ
กับระบบเสียง 3 มิติที่มีความลึก และ ความกว้าง ให้เสียงที่สมจริง ระบบเสียง 3 มิตินี้
ถูกออกแบบมา เพื่ออรรถรส ในการเล่นเกมส์ โดยเฉพาะ ดังนั้น หากคุณ ไม่ใช่คอเกมส์
โดยตรง ก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่นัก เพราะแผ่น CD เพลงทั่วไป ไม่ได้รองรับ การเล่นเพลง
แบบ 3 มิติ เท่าไหร่ ปัจจุบัน ดูเหมือนว่า มาตรฐาน ของระบบเสียง 3 มิติ
จะโอนเอียงมาทางฝั่งไมโครซอฟต์ หลังจาก ที่ไมโครซอฟต์
ใช้ Windows มาเป็นกรอบในการสร้างมาตรฐานต่างๆ ดังนั้น สิ่งที่เรา ต้องดูพื้นฐาน
นั่นก็คือรอบรับมาตรฐาน Direct Sound 3 D หรือไม่ จากนั้นจึงมาดูกันว่า
เทคโนโลยีระบบเสียง 3 มิติ ตัวใดกันบ้างที่เราควร จะหยิบมาพิจารณา
A3D ถือได้ว่า เป็น มาตรฐาน ระบบเสียง 3 มิติ ที่มี ผู้ให้การยอมรับ มากที่สุด
มาตรฐานหนึ่ง ซึ่งพัฒนาโดย Aureal Semiconductor ตัวอย่าง ของ Card เสียง ที่รองรับ
มาตรฐานนี้ นั่นคือ Vortex 2 ( ราคาประมาณ 4,000 บาท ) ที่ใช้สนับสนุน A3D 2.0
โดยมีคุณสมบัติเด่นๆ คือ การสังเคราะห์เสียง แบบ occlusion
( ลักษณะ เหมือนกำแพง เสียงสะท้อน ของวัตถุ ที่เคลื่อนที่ ผ่าน )
และ wavetracing ( คือการสังเคราะห์เสียง แบบ wave table ในสภาวะแบบ 3 D
ที่ให้ความสมจริง และถูกต้อง ของเสียงสะท้อน หรือตำแหน่ง ของเสียง ) มาตรฐาน A3D นี้
ได้รับการยอมรับ อย่างสูง จากผู้พัฒนาเกมส์ ทั้งหลาย เนื่องด้วย ความสามารถ
ในการสังเคราะห์เสียง แบบ 3 มิติ ที่สมจริง ของมันนั่นเอง และที่สำคัญ มันยังสามารถ
สังเคราะห์เสียง ด้วยเทคโนโลยี HRTF นั่นคือ การสร้าง ตำแหน่งของเสียง
ให้เกิดขึ้น รอบๆ ตัวผู้ฟัง โดยที่ ใช้ลำโพง แค่ 2 ตัวเท่านั้น
( แต่เดิม เพื่อให้ได้ อรรถรส ที่สมจริง เช่นนี้ จะต้องวางลำโพง ไว้รอบตัวผู้ฟัง ในลักษณะ 5+1 ตัว )
EAX เป็นการ ทวงตำแหน่ง มาตรฐานเสียง แบบ 3 มิติคืน หลังจากที่ผู้นำ ในวงการ
อย่าง Creative ต้องเพลี่ยงพล้ำ ให้กับ Aureal ในยุคต้นๆ ของการแข่งขัน มาตรฐาน เสียง 3 มิติ
จนทำให้ ทาง Creative ต้องปฏิวัติ เทคโนโลยี Sound Blaster เสียใหม่ และนำเอา
มาตรฐาน EAX เข้ามา เพื่อเรียก ความเชื่อมั่นคืนมา ปัจจุบัน Card เสียง รุ่นใหม่ๆ ของ Creative
จะสนับสนุน มาตรฐาน EAX แทบทั้งสิ้น อย่าง Sound Blaster Live และ Live Platinum
( ราคาเริ่มต้นที่ สองพันกว่า ไปจนถึง เก้าพันบาท แล้วแต่รุ่น )
ในยุคแรก ของ EAX 1.0 ถือว่า ยังไม่โดดเด่น มากนัก เพราะยัง ไม่สามารถ ให้พลังเสียง
และมิติของเสียง ได้ดีนัก แต่จนถึงตอนนี้ ด้วย EAX 3.0 ที่สามารถ สังเคราะห์เสียง
เช่นเดียวกับ HRTF ที่สามารถ ให้มิติ ตำแหน่ง และทิศทางของเสียงได้ ด้วยลำโพงแค่ 2 ตัว
หรือแม้แต่ ด้วยหูฟัง เท่านั้น ทำให้ ชื่อเสยงของ Creative เริ่มกลับคืนมา มากขึ้น
Sensaura ถือเป็น มาตรฐาน เก่ากี่ที่สุด มาตรฐานหนึ่ง ของการสังเคราะห์เสียง ที่สามารถแสดง
มิติของเสียงได้ จริงๆ แล้ว Sensaura วางมาตรฐานเอาไว้ ก่อน Sound Blaster เสียอีกด้วย
การแนะนำ ระบบเสียงแบบ Stereo ในยุค 1930 แต่พอ ข้ามมาสู่ ความเป็นดิจิตอล
ดูเหมือนว่า Sensaura จะต้องเพียงพล้ำ ให้กับ ผู้มาใหม่
ทั้ง Sound Blaster และ Aureal Audio แต่จนถึงตอนนี้ ด้วยการปรับตัว ครั้งล่าสุด
ดูเหมือนว่า Sensaura ก็สามารถ เรียกความเชื่อมั่น กลับคืนมาได้ อีกครั้งหนึ่ง
สำหรับคุณภาพของเสียงนั้น ไม่ด้อยไปกว่า EAX และ A3D เลย เนื่องจากความสามารถในการ
วางตำแหน่ง และมิติของเสียง ที่มีมาก่อนแล้ว ในมาตรฐานเสียงแบบ Stereo ในขณะเดียวกัน
ยังมีจุดเด่นอีกประการ นั่นคือ การรองรับ มาตรฐาน Direct Sound 3D อย่างเต็มที่
ทำให้ผู้พัฒนา มีต้นทุนในการผลิต ที่น้อยกว่า ปัจจุบัน เราพบว่า Card เสียงจาก Yamaha
ส่วนใหญ่ จะรองรับ มาตรฐาน Sensaura ทั้งสิ้น
2. การสร้างเสียงออกไปยังลำโพง เทคนิคการสร้างเสียง 3 มิติด้วยลำโพง
เพียงคู่เดียวนั้นเป็น เทคนิค ที่นิยม ใช้กันมากที่สุด โดยยืมเอา หลักการ สังเคราะห์เสียง
แบบ HRTF มาใช้ จริงๆ แล้ว มันก็สามารถ ทำงานได้อย่างน่า ประทับใจ ด้วยความสามารถ
ในการกำหนดทิศทาง และตำแหน่งของเสียง ได้อย่างใกล้เคียง กับบรรยากาศจริงๆ
( เช่น เหมือนมี เสียง คนเดินอยู่ ข้างหลัง หรือข้างๆ ตัวเราจริงๆ ) แต่หากคุณ ต้องการ อรรถรส
ในความบันเทิง และความสมจริง ที่มากขึ้นไปอีก ก็คงต้อง ลงทุนเพิ่มขึ้น
ด้วยการเลือกหา Sound Card ที่สนับสนุน มาตรฐาน Dolby AC-3 นั่นหมายความว่า
Sound Card ของคุณ จะสามารถ สังเคราะห์เสียง ผ่านลำโพง ได้ถึง 5 + 1 ตัวเลยทีเดียว
( ลำโพง 5 ตัว + Subwoofer อีก 1 ) แต่คุณ ต้องไม่ลืมด้วยว่า การลงทุน เพื่อแลกมาด้วย
ระบบเสียง ระดับ High End นี้ จะต้องแลกมาด้วย ต้นทุน ที่สูงอย่างมาก
( เกือบซื้อเครื่องใหม่ ได้เลย ) นั่นคือ แค่ Sound Card ตัวเดียว ก็ตกราคา 7 - 9 พันบาท
บวกลำโพง อีกประมาณ 10,000 บาท ดังนั้น หากคุณไม่ใช่ คอเกมส์ ขนาดแท้ หรือ มีเงิน
เหลือในกระปุกเยอะๆ แล้ว คงไม่ต้องลงทุน ถึงขนาดนั้น
3. เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจาก Sound Card ก็เช่นเดียวกับ อุปกรณ์อื่นๆ
ซึ่งมีหลายรุ่นออกมา เพื่อรองรับ กลุ่มลูกค้า และความต้องการ ใช้งานที่หลากหลาย แตกต่างกันไป
ดังนั้น เราจึงควรดูว่าระดับ การใช้งานของเรา เป็นเช่นไร หากเลือกซื้อ Sound Card เพื่อไปใช้งาน
กับคอมพิวเตอร์ใน office แล้ว เราคงไม่ต้องการ ศักยภาพ ในด้านของการสร้างเสียงแบบ 3 มิติที่ให้
เสียงกระหึ่ม และมีความสมจริง เท่าไหร่นัก นัก แต่ที่ ต้องการนั่นคือ การ์ดเสียงคุณภาพ ปานกลาง
ที่สามารถสร้างเสียง ให้เพียงพอ ต่อการฟังเพลง หรือสังเคราะห์เสียง เบื้องต้น เท่านั้น
อย่างการ์ด Addonic SV1550 ซึ่งใช้ Chip ของ Yamaha ที่ราคา 715 บาท
หรือ Creative SoundBlaster Vibra 128 ที่ราคา 805 บาท หากต้องการ การ์ดเสียง
ที่สร้างเสียงให้มีมิติ ที่กว้างและสมจริงเพื่อรองรับ การเล่มเกมส์รุ่นใหม่ๆ แล้ว คงต้องเลือก การ์ดเสียง
ที่มีราคา สูงขึ้นมาอีก อย่าง Creative SoundBlaster Live! Value ที่ราคา 2,195 บาท หรือ Diamond Monster Sound MX300 และ MX400 ที่ราคา 3,150 และ 3,350 บาท ตามลำดับ แต่หากต้องการ
การ์ดเสียงในระดับ High End ที่รองรับระบบเสียงแบบ Dolby AC-3 คงต้องเป็น
Creative SoundBlaster Live Platinum ซึ่งจะให้ความสมจริง มากยิ่งขึ้น แต่ก็คง ต้องแลก
ด้วยราคา ที่สูงกว่าเท่าตัว มีข้อแนะนำ เล็กน้อย สำหรับคอเพลง ทั้งหลาย ที่ไม่มุ่งหวัง การเล่นเกมส์
เท่าไหร่นัก กลุ่มผู้ใช้ระดับนี้ ควรเลือกใช้ การ์ดเสียง ระดับปานกลาง จะเหมาะสมกว่า
เพราะว่า Card ที่ราคา ไม่ถึงพันบาทนั้น จะสังเคราะห์เสียง
ได้ไม่ดี เท่าที่ควร จริงอยู่ ที่ว่า สามารถ เล่นเพลง ในระบบ Stereo ได้ แต่ความไพเราะ
หรือความสมจริง ของเส้นเสียง และเครื่องดนตรี จะยังไม่ถึงขั้นมืออาชีพ
4. ทดสอบด้วยการฟัง นอกเหนือจาก วิธีต่างๆ ข้างต้นแล้ว การทดสอบ ด้วยหู ของเราเองนั้น
จะดีที่สุด เนื่องจาก ความชอบ ของแต่ละคน แตกต่างกันไป บางครั้ง เสียงที่ได้ จากการ์ดเสียง ยี่ห้อนี้
เราอาจจะฟัง แล้วว่าไม่ดี แต่บางคนว่าดี แต่ในอีกรุ่น ที่เค้าไม่ค่อยชอบกัน เรากลับ ประทับใจมากกว่า
และที่สำคัญ ไม่ใช่ว่า ราคาแพงกว่า จะดีเสมอไป เราควรทดสอบ ด้วยการฟังด้วยว่า
เราชอบเสียงแบบนี้ หรือไม่ ซึ่งไม่แน่ว่า การ์ดเสียง ที่ราคาถูกกว่า สักสองสามร้อยบาท
อาจให้เสียง ที่เราถูกใจกว่าก็ได้ แต่โอกาส ในการทดสอบ ด้วยการฟังเองนั้น
อาจจะยากสักหน่อย เนื่องจาก คงไม่ค่อยมีผู้ขาย มานั่งต่อการ์ดเสียง ให้เราฟัง เราอาจจะฟัง
จากเครื่อง ของคนที่เรารู้จัก หรือใช้การ สอบถาม จากคนอื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ
|
|